วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ADT โรคสมาธิสั้นของคนทำงาน



คุณรู้ว่าคุณมีความสามารถ แต่ทำงานออกมาให้ดีไม่ได้? 
คุณขาดความรู้สึกอยากทำงานที่ดี คุณเฉื่อยชา และเริ่มทำงานพลาดบ่อยครั้ง? คุณรู้ไหมว่าคุณอาจกำลังทุกข์ทรมานกับโรค ADT?

          เมื่อเรามีงานที่เร่งด่วนเข้ามาเรื่อยๆ เราก็มักจะรับภาระความรับผิดชอบต่องานเหล่านั้นโดยไม่บ่นไม่โวยวายและ ก้มหน้าก้มตาทำงานให้สำเร็จ โดยที่ไม่มีกำลัง และเวลาเพียงพอ ทำให้คุณต้องเร่งทำงานให้เร็วขึ้น และทำหลายๆอย่างพร้อมกัน อย่างลวกๆบ่อยๆครั้ง ถ้าเป็นเช่นนั้นจงสังเกตุตนเองว่าคุณอาจเป็นโรคนี้ซะแล้ว 

ADT คือ อาการของบุคคลที่มีนิสัยคล้ายคนสมาธิสั้น สาเหตุเริ่มมาจากสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ดีของคุณ ทำให้สมองตอบสนองต่อความต้องการของงานที่ต้องเสร็จเร็ว และเริ่มละเลยประสิทธิภาพของงาน

เมื่อเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ สมองของคุณจะค่อยๆสูญเสียความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และทำงานอย่างละเอียด อาจจะทำงานที่เร็วแต่ไม่ละเอียด และเริ่มทำช้าลงเพราะไม่อยากทำงานลวกๆ แต่ก็ช่วยไม่ได้ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ก็ลดลง ทำงานผิดพลาดมากขึ้น แก้งานไม่จบไม่สิ้น จนสุดท้าย คุณจะรู้สึกเหนื่อย ทนไม่ไหวอีกต่อไป และอยากหนี

เนื่องจากวงจรการทำงานที่ไม่ดี เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ความฉลาดและอารมณ์ของคุณจะถูกกัดเซาะไปเรื่อยๆ จนเมื่อรู้ตัวอีกที ความสารมรถและสติปัณญาของคุณก็ถอยหลังกลับเข้าถ้ำไปเสียแล้ว

เมื่อคุณกำลังทุกข์กับ ADT คุณจะ :
- คุณรู้ว่าคุณสามารถชิ้นนี้ได้ดีมากๆ แต่...คุณไม่ทำ
- คุณไม่สามารถมีสมาธิอยู่กับงานเดียวได้นาน หรือจริงจังจนงานจบ
- แม้คุณรู้ว่าคุณทำงานนี้ได้ แต่คุณกลับทำงานออกมาได้น้อย และเป็นไม่อย่างเชื่องช้า
- ความคิดสร้างสรรค์ของคุณหายไป ไม่กระตือรืล้น
- คุณไม่แสดงออกแต่ภายในหัว มีความคิดวุ่นวายตลอดเวลา
- คุณใช่เวลาทำงานนานกว่าปกติ แต่งานไม่ค่อยเสร็จ ทำได้น้อย
- คุณเริ่มไม่ดูแลสุขภาพของตัวเอง ไม่สนใจที่จะทำให้สุขภาพดีขึ้น ช่างมัน


แล้วจะทำอย่างไรดี ?
 UP Training  อ่านบทความอื่นๆ คลิก

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เทคนิคการจัดการสร้างทีมงานที่มีคุณภาพ (ตอนจบ)


หลังจากทราบขั้นตอนแรกไปแล้ว เรามาวิเคราะห์กระบวนการทำงาน ใน ขั้นตอนที่ 2 ต่อกันครับ

ขั้นตอนที่ 2 
การวิเคราะห์กระบวนการทำงาน
          ขั้นตอนนี้เป็นการวิเคราะห์กระบวนว่ามีเป้าหมายย่อย ที่สามารถสนองเป้าหมายองค์กรหรือไม่? การดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายนั้น มีปัจจัยมากมายที่ส่งผลต่อความสำเร็จ แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดได้แก่พันธสัญญาของทีมผู้บริหาร ทีมผู้บริหารนั้นประกอบด้วยฝ่ายต่างๆ และหน่วยธุรกิจที่หลากหลาย การสร้างทีมเป็นสิ่งที่ควรระมัดระวัง สมาชิกในทีมนั้นจำเป็นต้องมีความเกี่ยวของอย่างแท้จริง เป้าหมาย, บทบาท, และหน้าที่ของทีมอย่างแท้จริง การวางแผนทีมนั้นควรมีเป้าหมายที่ชัดเจน และเป้าหมายนั้นควรเป็นเป้าหมายระยะสั้น ซึ่งอย่างนั้นต้องใช้เวลา 6 เดือนขึ้นไป ขั้นตอนต่อมาเป็นการนำบริหารกลยุทธ์มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมองระบบการบริหารทั้งระบบขององค์กร โดยมุ่งเน้นทั้งกระบวนการทำงาน และระบบสนับสนุนภายในองค์กร

- การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นผู้นำจะต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ทั้งของตนเอง และผู้อื่น
- ขจัด และปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรที่ซ้ำซ้อน และบริหารการเปลี่ยนแปลง
- กำหนดวิสัยทัศน์ และภาระกิจที่ชัดเจนเพื่อตอบสนองความต้องการทั้งลูกค้า, ซัพพลายเออร์, องค์กร, และผู้ถือหุ้น
          การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) จะช่วยให้บุคคลในองค์มองให้ภาพรวม นอกจากจะช่วยต่อการเข้าใจต่อบทบาท หน้าที่ของตนเองแล้ว ยิ่งไปกว่ายังช่วยให้บุคลากรรู้ว่าตนนั้นอยู่ตำแหน่งใดขององค์กร และสิ่งที่ตนได้ปฏิบัติอยู่นั้นส่งผลต่อองค์กรในแง่มุมได้ซึ่งให้เขาเหล่านั้นพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพราะแผนกลยุทธ์นี้จะเชื่อมโยงสู่แผนการทำงาน ซึ่งแผนที่ได้มานั้นเชื่อมสู่กระบวนการตัดสินใจ และการบริหาร และพัฒนากระบวนการทำงานในที่สุด เครื่องมือบริหารอย่าง Balance Score Card เป็นเครื่องบริหารชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้เพื่อช่วยในการกำหนดกลยุทธ์ และช่วยเรามองเห็นภาพรวมขององค์กร โดยเฉพาะการกำหนดเป้าตามมุมมองธุรกิจทั้ง 4 ตัวได้ แก่มุมมองทางการเงิน, มุมมองลูกค้า, มุมมองการจัดการกระบวนการภายใน และ มุมมองเรื่องการเรียนรู้ และเติบโต ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างทีมที่คุณภาพที่มีศักยภาพ และง่ายขึ้น

 UP Training  อ่านบทความอื่นๆ คลิก

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เทคนิคการจัดการสร้างทีมงานที่มีคุณภาพ (ตอนแรก)



          วิถีทางให้การสร้างทีมนั้นมีสองขั้น ตอนแรกมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาคุณภาพ สร้างภาวะผู้นำให้เกิดกับผู้บริหารในแต่ละฝ่าย และสร้างกระบวนการจัดการที่มีคุณภาพ นี่เป็นภาพความสำเร็จในขั้นตอนนี้ ขั้นตอนที่สองนี้เป็นการต่อยอดในขั้นตอนแรก เป็นการวิเคราะห์กระบวนว่าแต่ละกระบวนการนั้นมีเป้าหมายย่อย ที่สามารถสนองเป้าหมายองค์กร ได้อย่างไร การวางแผนเเชิงกลยุทธ์เป็นภาพความสำเร็จในขั้นตอนนี้ จะร่วมถึงการวัดผลด้วย ขั้นตอนทั้งสองนี้จะช่วยให้เห็นภาพที่แท้จริงขององค์กร ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกระบวนการนี้ได้แก่
1. ขั้นตอนทั้งสองจะต้องดำเนินการอย่าง เป็นขั้นเป็นตอน ไม่ควรทำทันทีพร้อมกันทั้งองค์กร ควรจะต้องเริ่มจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก่อน เพื่อเป็นต้นแบบ จากนั้นจึงค่อยๆ ขยาย เป็นสู่ฝ่ายอื่นๆ เมื่อขั้นตอนแรกประสบความสำเร็จ จึงเจาะลึกลงในกระบวนการต่อไป
2. การให้ความรู้ และการฝึกอบรมเป็นสิ่งจำเป็นลำดับต้นๆ ที่ต้องทำไปควบคู่กันไปเพื่อสร้างความเข้าใจ และให้ทุกคนเข้าใจเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลง และควรทำในเวลาที่เหมาะสม แผนในการฝึกอบรมเป็นส่วนที่จะช่วยการดำเนินการในขั้นตอนต่างๆบรรลุเป้าหมาย ซึ่งผู้บริหารระดับสูงต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้ด้วย
3. ในขั้นตอนแรกผู้บริหารจะต้องสร้างพันธสัญญาร่วมกันว่าจะดำเนินการขั้นตอนทั้งหมดให้ลุล่วงเพื่อให้เกิดการพัฒนา นอกจากนี้ผู้บริหารแต่ละคน จะต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ของสมาชิกที่ร่วมทีมด้วย
4. การสร้างความรู้ และความเข้าใจจะต้องมีอยู่สม่ำเสมอ หากละเลยสิ่งนี้จะก่อให้เกิดอุปสรรคที่มีต่อกระบวนการบริหารจัดการ ก่อนที่กระบวนการนี้จะถูกประยุกต์ใช้อย่างแท้จริง

ขั้นตอนที่แรก
การสร้างกระบวนการจัดการทีมงานที่มีคุณภาพ จะประกอบด้วยขั้นตอนย่อยๆ ต่อไปนี้

1. อบรม และกำหนดบทบาทฝ่ายให้แก่ บุคลากรระดับหัวหน้างานเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในการพัฒนากระบวนการทำงานภาพรวมของฝ่าย โดยซึ่งหลัก PDCD 
2. ระดมสมอง และกำหนดข้อตกลงเบื้องต้นในการส่งข้อมูล และ/หรือรายงานที่ได้จากระบวนการนั้นๆ เพื่อส่งให้ฝ่ายหรือส่วนงานอื่นๆ เพื่อนำไปใช้ต่อยอดในการทำงานได้
3. สร้าง Flow งานหลักของฝ่าย ก่อนที่จะนำไปสู่ การสร้าง Flow ย่อยในส่วนงานต่างๆ ในฝ่าย
4. ลดกระบวนการที่ซ้ำซ้อน และขจัดปัญหาที่ส่งผมต่อการพัฒนากระบวนการ
5. ขณะเดียวกันต้องกำหนดคุณภาพของข้อมูล และ/ หรือรายงาน ซึ่งทำให้ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลคุณภาพที่นำฝ่ายงานอื่นๆ นำไปใช้ร่วมกันได้ในคราวเดียวกัน ซึ่งฝ่ายเองต้องเปิดใจรับคำติชมจากฝ่าย และหน่วยงานที่ต้องนำข้อมูลนั้นไปใช้
ขั้นตอนแรกนี้จะประสบความสำเร็จได้ภาวะผู้นำต้องเกิด หากขั้นตอนแรกนี้ไม่สำเร็จ ขั้นตอนที่เหลือก็ไม่สามารถเป็นจริงได้ และผู้นำที่ดีควรมีจะต้องเก่งใน 5 เรื่องได้แก่

· เก่งงาน นั่นคือ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการอย่างแท้จริง เข้าใจกระบวนการทำงาน และสามารถรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการได้ตลอดเวลา สามารถสร้างคุณค่าให้กับผู้อื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชา

· เก่งคน นั่นคือ มีภาวะผู้นำ และนำจิตวิทยาบริหารมาใช้ในการบริหารจัดการคน

· เก่งคิด นั่นคือ มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถนำหลักบริหารต่างๆ มาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ

· เก่งดำเนินชีวิต นั่นคือ สามารถบริหารเวลาได้เป็นอย่างดี
· เก่งถ่ายทอด นั่นคือ พร้อมถ่ายทอดความรู้ที่มีให้แก่บุคคลอื่น เพื่อให้เกิดการพัฒนาไปพร้อมๆ กับตนเอง

การบริหารจัดการกระบวนการทำงานนั้นแตกต่างจาก การบริหารจัดการโดยทั่วไปหลายประการ เช่น

 UP Training  อ่านบทความอื่นๆ คลิก

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เรียนรู้คำสอนเจ้าสัว มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน



1.ในโลกนี้ไม่มีคนไหนเก่งไปตลอดกาล
วันนี้คุณอาจเก่ง แต่พรุ่งนี้ อาจมีคนเก่งกว่าคุณ เพราะฉะนั้น คนใดก็ตามที่ภูมิใจว่า “ตนเองเก่ง” จงจำเอาไว้ได้เลยว่า ความหายนะใกล้มาถึงตัวคุณแล้ว ความโง่คืบคลานมาใกล้ตัวคุณแล้ว
“ธนินท์ เจียรวนนท์”

2.ผมพร้อมที่จะเป็นน้ำนิ่ง อาจมีเขื่อนมาขวางหน้า
แต่ถ้าวันใดที่เขื่อนนั้นเปราะบาง และโอกาสแห่งการสำแดงพลังมาถึง ผมก็พร้อมจะกลายเป็นกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก โหมกระหน่ำใส่ทุกสิ่งที่ขวางกั้น แม้กระทั่งเขื่อนที่ครั้งหนึ่งผมเคยสยบยอมก็ตาม
“เจริญ สิริวัฒนภักดี”

3.ผมจะก้าวหน้าไปสักก้าว ก็ต้องเจออะไรมากระทบ
แต่เราก็พยายามที่จะก้าวใหม่ แบงค์กรุงเทพฯ เคยถูกกระทบตลอดเวลา และไม่เคยท้อถอย
“ชาตรี โสภณพนิช”

4.กินข้าวต้องเร็วเหมือนมังกร
ทำงานต้องทำให้เหมือนเสือ และก็ไม่แต่ผมคนเดียวเท่านั้น ลูกๆ ทุกคนก็ปฏิบัติอย่างนี้
“บุญยสิทธิ์ โชควัฒนา”

 UP Training  อ่านบทความอื่นๆ คลิก

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

4 เทคนิค ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในองค์กร


          การเป็นนักบริหารที่ดีนั้น มีตำราว่าต้องเก่งสามประการ คือ “เก่งงาน เก่งคิด และเก่งทำ” เพราะนอกจากจะต้องรับผิดชอบเรื่องงาน และเรื่องการดูแลคนให้ปฏิบัติงานอยู่ร่วมกันอย่างมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อีกด้วย เพราะถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนางาน และเพิ่มคุณภาพของงานและในการพัฒนาอะไรใหม่ ๆ นั้น คงจะไม่มีใครเก่งได้คนเดียว จะต้องอาศัยความคิดจากเพื่อนร่วมงาน สมาชิกคนอื่นในทีมหรือผู้ใต้บังคับบัญชาอีกด้วย ดังนั้นนักบริหารจึงต้องพยายามสร้างบรรยากาศที่จะกระตุ้น ส่งเสริมบรรยากาศที่จะกระตุ้น หรือส่งเสริมให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยอาจใช้เทคนิค ดังนี้

1. เป็นผู้จุดชนวนความคิด
การที่คนจะมีความคิดสร้างสรรค์หรือมีอะไรแปลก ๆ ไดนั้นไม่ใช่ว่าอยู่ดี ๆ จะมีความคิดผุดขึ้นมา
เฉยๆ แต่จะต้องมีพื้นฐานมาจากการได้รู้ ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง อะไรอยู่บ่อย ๆ ทำให้เกิดความสนใจและท้าทายที่จะต้องทำอะไรแปลก ๆ ใหม่ ๆ ขึ้นมาบ้าง นักบริหารอาจจะช่วยกระตุ้นความคิดของผู้อื่น โดยการส่งเอกสาร บทความ หนังสือ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ที่น่าสนใจในสาขาวิชาต่าง ๆ สำหรับผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะให้ข้อเสนอ หรือความคิดดี ๆ ซึ่งควรจะมีลักษณะไม่เป็นการบังคับ บีบเค้นอะไรจากผู้อ่าน ปล่อยให้เขาศึกษา และพิจารณาเองว่าจะใช้ประโยชน์อะไรจากการจุดชนวนให้เกิดความคิดใหม่ ๆ ได้ทางหนึ่ง

2. เป็นผู้รับฟังที่ดี
บ่อยครั้งที่มีความคิดสร้างสรรค์ถูกปล่อยผ่านไป เพราะความไม่เอาใจใส่ของผู้บริหาร ดังคำกล่าว
ที่ว่า “มองแต่ไม่เห็น ได้ยินแต่ไม่ฟัง” ซึ่งมักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ ในที่ทำงานที่มีผู้บริหารไม่สนใจจะรับฟังคนอื่นอย่างแท้จริง ได้แต่พยักพเยิดแล้วปล่อยให้ผ่านไปอย่างไม่สนใจ ถ้าท่านผู้บริหารทำตัวเป็นผู้ฟังที่ดี รับฟังความคิดจากทุกคน และเก็บรวบรวมข้อเสนอแนะให้ครบทุกประเด็น ทึกแง่มุมแล้ว ท่านจะเก็บเกี่ยวอะไรดี ๆ อีกมากมาย อย่าปล่อยให้ความคิดดี ๆ ล่องลอยไปกับสายลมโดยเปล่าประโยชน์ เพราะว่าท่านไม่ทันได้ฟังอะไรเลย

 UP Training  อ่านบทความอื่นๆ คลิก

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Creativity in Business วิธีเติมความคิดสร้างสรรค์ในทุกๆ วันของการทำธุรกิจ


          ทุกคนล้วนทราบดีว่าการมีความคิดสร้างสรรค์หรือ Creativity นั้น เป็นสิ่งที่มีค่าและจำเป็น โดยเฉพาะในการทำธุรกิจที่ต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขัน ไอเดียหรือความคิดสร้างสรรค์นั้นคือสิ่งชี้ขาดระหว่างผู้นำและผู้ตามในตลาดเลยทีเดียว

          เวลาที่ผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายหรือเป็นอาจารย์สอนนักศึกษา หนึ่งในคำถามที่ผมมักถามอยู่เสมอคือ “ความคิดสร้างสรรค์ สร้างได้หรือเป็นพรสวรรค์?” เพราะคนส่วนมากมักคิดเอาเองว่าการมีความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็นพรสวรรค์ที่มีมาในเฉพาะบุคคลกลุ่มหนึ่ง และการนำเอาความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในธุรกิจนั้นเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารหรือการตลาดเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่บ่มเพาะขึ้นมาได้ และเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องฝึกฝนโดยเฉพาะผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถฝึกฝนตนเองและบุคลากรให้มีการนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในธุรกิจได้ โดยมีข้อคิดดังนี้ครับ

สร้างวัฒนธรรมของการ “ฟัง” ที่ดี
หนึ่งในเทรนด์ด้าน Personal Development ที่เกิดขึ้นทั่วโลกที่ผมสังเกตเห็นคือ การที่ผู้บริหารเริ่มให้ความสำคัญกับการพัฒนาตนเองด้านทักษะ “การฟัง” พอๆ กับการพัฒนาทักษะ “การพูด” เพราะความคิดดีๆ ในการแก้ปัญหาและทำธุรกิจนั้นมักเกิดขึ้นเมื่อมีการระดมความคิด โดยเฉพาะในยามที่มีการพูดคุยกันระหว่างทีมงานต่างแผนก ซึ่งนอกเหนือจากการที่ทีมงานต่างหน้าที่จะได้เรียนรู้มุมมองของกันและกันแล้ว ยังสามารถนำแนวคิดที่ได้ไปประยุกต์แก้ปัญหาอื่นๆ ในหน้าที่การงานของตัวเองอีกด้วย

 UP Training  อ่านบทความอื่นๆ คลิก

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ทฤษฎีการทำงานเป็นทีม และทักษะของผู้นำทีมงาน


แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเป็นทีม
          ร็อบบินส์ กล่าวถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเป็นทีม ได้แก่ ทฤษฎีการระบุเหตุของพฤติกรรม ทฤษฎีแรงจูงใจ ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตน ในการนำเสนอทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเป็นทีม ผู้วิจัยได้รวบรวมนำเสนอทฤษฎีตามแนวคิดของร็อบบินส์และแนวคิดทฤษฎีอื่นเพิ่มเติม ได้แก่ แนวคิดทฤษฎี เกี่ยวกับความต้องการ 2 ปัจจัย มีรายละเอียดดังนี้

1. ทฤษฎีการระบุเหตุของพฤติกรรม
ไฮเดอร์ อธิบายว่าการรับรู้พฤติกรรมนั้นจะต้องอาศัยสาเหตุ 2 อย่าง คือ สาเหตุที่มาจากส่วนบุคคล และสาเหตุที่มาจากเงื่อนไขของสิ่งแวดล้อม โดยสาเหตุทั้งสองนี้จะอยู่ในลักษณะความสัมพันธ์แบบเพิ่มหรือลด บวกหรือลบ กล่าวคือ ถ้ากระทำสิ่งใดด้วยความต้องการของตน บุคคลจะทำได้ง่ายขึ้น เมื่อเงื่อนไขสิ่งแวดล้อมอำนวยให้แต่จะยากขึ้นเมื่อสิ่งแวดล้อมเป็นตัวขัดขวาง (ดูภาพประกอบ 5) สำหรับสาเหตุที่มาจากส่วนบุคคล ถูกแยกออกเป็น 2 สาเหตุย่อย คือ สาเหตุที่เป็นแรงจูงใจให้พยายามทำ(Trying)และที่เป็นความสามารถ (Ability) สาเหตุย่อยทั้งสองส่วนนี้จะสัมพันธ์กันในลักษณะที่ว่าบุคคลจะไม่มีพฤติกรรมใด ๆ ถ้าบุคคลนั้นขาดแรงจูงใจ ได้แก่ ความต้องการจะทำหรือขาดความสามารถที่จะทำได้

2. ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์
มาสโลว์ ได้เขียนทฤษฎีการจูงใจ หรือที่เรียกว่าทฤษฎีทั่วไปเกี่ยวกับการจูงใจ เป็นทฤษฎีซึ่งมาสโลว์กล่าวถึงสิ่งจูงใจจากความต้องการของมนุษย์ไว้ว่ามนุษย์มีความต้องการอยู่เสมอไม่มีที่สิ้นสุดขณะที่ความต้องการใดได้รับการตอบสนองแล้วความต้องการอย่างอื่นจะเข้ามาแทนที่ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วและความต้องการของมนุษย์มีลำดับขั้นจากต่ำไปหาสูง

3. ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ
เบียนชาร์ด อธิบายว่ารูปแบบผู้นำแต่ละคนเป็นแบบแผนของพฤติกรรมที่แสดงถึงความพยายามที่จะกระตุ้นการปฏิบัติงานของผู้ตาม โดยแยกพฤติกรรมออกเป็น 2 ด้านได้แก่ พฤติกรรมด้านงาน (Task behavior)เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำปฏิบัติเพื่อกำหนดบทบาท และมอบหมายงานที่ผู้ตามแต่ละคนจะต้องปฏิบัติด้วยการกำหนดกิจกรรมว่าจะทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร เพื่อให้งานของกลุ่มสำเร็จตามเป้าหมาย พฤติกรรมด้านสัมพันธภาพ (Relationship behavior) เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำแต่ละคนแสดงออกโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างตนกับ ลูกน้อง และระหว่างลูกน้องด้วยกันซึ่งแสดงออกโดยการเปิดโอกาสให้มีการสื่อสารแบบอิสระ จัดหาและเตรียมการสนับสนุนด้านสังคม

4. ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตน
การรับรู้ความสามารถของตนเองมีพื้นฐานมาจากทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม ของแบนดูรา ซึ่งมีความเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลเป็นผลเนื่องมาจากการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่าง 3 องค์ประกอบได้แก่ พฤติกรรมปัญญาองค์ประกอบส่วนบุคคล และอิทธิพลของสภาพแวดล้อม โดยทั้ง 3 องค์ประกอบนี้ จะทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดที่มีอิทธิพลเชิงเหตุผลซึ่งกันและกัน ทักษะที่บุคคลมีอยู่ในขณะนั้น หากแต่ว่าขึ้นอยู่กับความเชื่อของบุคคลว่าเขาสามารถทำได้ด้วยทักษะที่มีอยู่ ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองประกอบด้วยความคาดหวังซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจที่จะกระทำพฤติกรรม 2 ประการ ประการแรกความคาดหวังในความสามารถของตน หมายถึง ความมั่นใจของบุคคลว่าสามารถกระทำหรือแสดงพฤติกรรม เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการเป็นความคาดหวังที่เกิดขึ้นก่อนกระทำพฤติกรรมส่วนความคาดหวังในผลลัพธ์ หมายถึง การคาดคะเนของบุคคลว่าถ้ากระทำพฤติกรรมนั้นแล้ว จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ตนเองคาดหวังไว้เป็นการคาดหวังในผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำพฤติกรรมของตน

UP Training  อ่านบทความอื่นๆ คลิก

วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เรื่อง “ยุ่ง” แต่ไม่ “ยาก” ของคนอยากประสบความสำเร็จ


          ความสำเร็จเป็นเรื่อง “ยุ่ง” แต่ไม่ใช่เรื่อง “ยาก” คำกล่าวนี้สร้างความฮึกเหิม ความหวัง และกำลังใจให้กับคนที่กำลังตามหา ไล่ล่าความสำเร็จ มาครอบครองได้ไม่น้อย จริงอยู่ที่กว่าจะได้มาซึ่งความสำเร็จนั้นมักจะต้องเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ มากมาย แต่ถ้าเราไม่คิดจะท้อถอย ความสำเร็จย่อมเป็นของเราในที่สุด ในทางกลับกัน คนที่คิดว่าความสำเร็จเป็นเรื่องยาก ย่อมไม่มีวันประสบความสำเร็จ

คุณชัยประนิน วิสุทธิผล นักการตลาด ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการโฆษณามากว่า 23 ปี ผู้เป็นเจ้าของคำกล่าวนี้ เขาได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจและได้ตั้งข้อสังเกตที่เกี่ยวกับคุณสมบัติที่มักจะมีอยู่ในผู้ที่ประสบความสำเร็จไว้ได้อย่างน่าสนใจ

คุณสมบัติดังกล่าวมีอยู่ 3 ประการ คือ
1.มีทัศนคติในด้านบวก คนที่ประสบความสำเร็จได้ต้องเริ่มจากทัศนคติที่มีต่อสิ่งต่างๆ คนที่มองความสำเร็จเป็นเรื่องยากลำบาก จะรู้สึกว่าปัญหานั้นยิ่งใหญ่ และยิ่งสับสนวุ่นวาย ไม่กล้าตัดสินใจ แต่คนที่มองในด้านบวกจะมีพลังทางความคิดสามารถคิดวิเคราะห์ในทางสร้างสรรค์ เลือกที่จะรับรู้ รับฟัง และจับโอกาสดี ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา มาประกอบขึ้นเป็นแผนงานที่แข็งแรง

UP Training  อ่านบทความอื่นๆ คลิก