วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

เทคนิคง่ายๆ ในการสร้างทีมงานที่ดี


1. การกำหนด Time Control สมาชิกของทีมจะต้องสามารถบอกได้ว่างานของตนจะแล้วเสร็จเมื่อไร โดยเฉพาะการแก้ปัญหาที่แต่ละคนพบจากการทำงาน

2. สมาชิกในทีมต้องไวต่อความรู้สึก ของเพื่อนร่วมงาน สามารถรู้อากัปกิริยาที่แสดงออก ว่าเพื่อนสมาชิกต้องการอะไร พอใจหรือไม่พอใจ รู้นิสัยใจคอ ซึ่งจะช่วยให้ลดปัญหาความเข้าใจผิด เกิดความเข้าใจอันดี สร้างความไว้วางใจ

3. บรรยากาศทำงานที่ผ่อนคลาย Relaxed Atmosphere ไม่เคร่งเครียด การทำงานเป็นแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย หลีกเลี่ยงการติดต่ออย่างเป็นทางการ เน้นความเป็นพี่เป็นน้อง ซึ่งมีผลในการติดต่อสื่อสารการประสานงาน ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการสร้างทีมงานที่ดี

4. ทุกคนต้องมีข้อมูล ต้องเตรียมข้อมูล โดยเฉพาะหากต้องมีการประชุม (ทำการบ้านเป็นอย่างดี) ทั้งนี้เพื่อนำมาแลกเปลี่ยน นำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนและตัดสินใจของทีมงาน ดังนั้นทุกคนต้องรู้สำนึกรับผิดชอบหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่

5. ต้องคัดคนที่มีคุณภาพเข้าทีม เรียกว่าสมาชิกต้อง Qualifiled ต้องมีความรู้ความสามารถในการทำงาน การแก้ปัญหา มีความสนใน ใส่ใจ และพร้อมที่จะเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา และสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น

6. มีการจดรายละเอียดในการประชุม เพื่อศึกษา ค้นคว้า ทบทวน จดจำ เพื่อปรับปรุงงาน และดำเนินการตามที่ได้ข้อตกลงในที่ประชุม

7. สำคัญที่สุดคือ การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ หรือเป็นช่วงเวลา ยิ่งมีทีมย่อยที่จะต้องประสานกัน เพื่อผลสำเร็จขององค์กรซึ่งเป็นทีมใหญ่

ที่มา : ปิยะวุฒิ อนุอันต์


วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

6 วิธีเพิ่มความฉลาดทางด้านอารมณ์ (EQ)

ความฉลาดด้านอารมณ์ (EQ) คือความสามารถในรับรับรู้ เข้าใจอารมณ์ที่คุณมีและสามารถใช้เป็นประโยชน์ในการทำสิ่งที่ต้องการให้สำเร็จผล เป็นทักษะที่สามารถพัฒนาเพิ่มขึ้นเพื่อรับรู้ เข้าใจและบริหารจัดการอารมณ์ของผู้อื่นได้เช่นเดียวกัน การมี EQ สูงจะช่วยให้คุณสามารถดึงศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวคุณและผู้อื่นออกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อการใช้ชีวิตที่ประสบความสำเร็จและมีความสุขสูงสุด


6 วิธีเพิ่มความฉลาดด้านอารมณ์ (EQ)

1. การมีสติ
          การมีสติหรือการรู้ตัวเป็นแก่นของความฉลาดด้านอารมณ์ การที่สามารถรู้ตัวว่าคุณมีความรู้สึกอย่างไรบ้างทุกช่วงเวลาและรู้ว่าคุณคือใคร ช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ ของชีวิตได้อย่างยอดเยี่ยม คุณสามารถพัฒนาการมีสติได้ด้วยการฝึกการนั่งสมาธิหรือในขณะที่ทำกิจกรรมในแต่ละวันให้โฟกัสอยู่กับปัจจุบันเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจกับแต่ละอารมณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมกับการค้นหาคำตอบว่าทำไมคุณจึงเกิดอารมณ์เหล่านั้นแล้วจดบันทึกเพื่อการพัฒนาตัวเอง

2. การเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น
          การเข้าใจความรู้สึกและสามารถเข้าไปอยู่ในจผู้อื่นได้เป็นความสามารถที่มีพลังอย่างมาก คุณจะได้รับการนับถือจากผู้อื่นช่วยให้คุณได้รับความช่วยเหลือเมื่อคุณต้องการ ช่วยลดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นจากเรื่องงานรวมถึงเรื่องส่วนตัวทำให้คุณมีความสุขและประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น คุณสามารถพัฒนาการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้เช่นเดียวกับการฝึกการมีสติเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจกับแต่ละอารมณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมกับการค้นหาคำตอบว่าทำไมพวกเขาจึงเกิดอารมณ์เหล่านั้น

3. การควบคุมตัวเอง
         คุณต้องลองสังเกตุดูตัวเองว่าทุกวันนี้ “คุณควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้หรือคุณถูกอารมณ์ควบคุม” เมื่อคุณมีสติและรู้ทันอารมณ์ของตัวเองแล้วจะช่วยให้คุณสามารถพัฒนาความคิดและให้ความหมายต่อสิ่งต่างๆ ในแบบที่ต้องการ เพื่อตัดสินใจอย่างรอบคอถึงข้อดี ข้อเสีย จุดแข็ง จุดอ่อนและผลที่จะตามาก่อนที่จะพูดหรือลงมือทำในสิ่งที่คุณต้องการ คนที่มีความฉลาดด้านอาณมณ์สูงกล้าที่จะแสดงออกถึงความคิดเห็น อารมณ์ ความคิด ความเชื่อและจุดยืนของตัวเองให้กับคนที่ใช่ในเวลาที่ใช่

4. การสร้างแรงบันดาลใจ
          เมื่อคุณรู้จักและเข้าใจอารมณ์แล้วคุณสามารถใช้อารมณ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยการสร้างแรงบันดาลใจเพื่อให้ตัวคุณและผู้อื่นดึงความสามารถที่เก็บไว้มาทำในสิ่งที่ต้องการให้สำเร็จผล คนที่มีความฉลาดด้านอาณมณ์สูงสามารถใช้อารมณ์ต่างๆ สร้างแรงบันดาลใจในแต่ละช่วงเวลาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดเช่น เมื่อพบปัญหาใหญ่เขาสามารถใช้แรงบันดาลใจมองเป็นความท้าทายและเป็นโอกาสในการพัฒนาตัวเอง

5. การเข้ากับผู้อื่น
          คนที่มีความฉลาดด้านอาณมณ์สูงจะสามารถเข้าใจความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่นแล้วเขาสามารถช่วยให้ผู้อื่นได้ในสิ่งที่ต้องการ ด้วยความเชื่อว่า “เมื่อผู้อื่นได้ในสิ่งที่เขาต้องการแล้ว พวกเขาก็จะช่วยให้คุณได้ในสิ่งที่คุณต้องการ” หรือ “ยิ่งให้ คุณยิ่งได้” จึงช่วยให้เขาสามารถเข้ากับผู้อื่นและได้รับการช่วยเหลือโดยง่าย

6. ความสุข
          คนที่ฉลาดด้านอารมณ์รู้วิธีการสร้างและใช้อารมณ์ต่างๆ เช่น สุข เศร้า ตื่นเต้น กังวลหรือระวังตัว แต่เป็นเรื่องน่าเสียดายที่คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจวิธีสร้างความสุขได้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องและยาวนาน เพราะหลายคนมักคิดว่าความสุขมักเกิดจากเงิน สิ่งของหรือผู้อื่น ในความเป็นจริงแล้วความสุขเป็นศิลป์ (Art) ซึ่งคนที่มีความฉลาดด้านอาณมณ์สูงสามารถเชื่อและลงมือทำบางอย่างแล้วสามารถมีความสุขทันทีโดยที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ ช่วยให้คุณมีความสุขในการทำสิ่งต่างๆเพื่อที่จะประสบความสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้นและมีความสุขเพิ่มมากขึ้น


โดย : เจษฎา เจือจันทึก

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

5 วิธีสร้างราศีจับในที่ทำงาน


คุณอาจนึกว่าการมีสง่าราศี มีบารมีน่ะ เขาต้องมีกันมาแต่เกิดแน่ๆ เราจะบอกว่า ไม่จำเป็นค่ะ ของแบบนี้สร้างกันได้ชัวร์ ถ้าคุณสามารถ
1. สงบ ในขณะเดียวกันก็กระตือรือร้น
2. มั่นใจ
3. บุคลิกท่วงท่าดี
4. ดวงตาสดใส และแสดงออกทางสีหน้าได้ถูกกาลเทศะ
5. มีคุณสมบัติของการฟังที่ดี

ซึ่งแต่ละคนจะมีอย่างนี้ได้ คุณก็อาจต้อง
1. อย่าถืออะไรรุงรัง เวลาไปไหนถ้าเมื่อไหร่ที่คุณต้องทั้งสะพายกระเป๋าใบโตที่แน่นเอี๊ยดไปด้วยแฟ้มงาน และยังมีแล็ปท็อปเข้าอีก จะทำให้คุณเดินเอียงไปเอียงมา เสียบุคลิกได้ จัดการให้ง่ายเข้าไว้ จะได้เดินได้อย่างผึ่งผายไม่ต้องกังวลกับสัมภาระ
2. ลดอาการขมวดคิ้ว คนในโลกส่วนใหญ่ที่จัดว่าเป็นบุคคลที่มีบารมีของจริงแทบไม่ขมวดคิ้วกันเลย เพราะมันทำให้คุณดูเป็นสาวขี้กังวลอมทุกข์ได้ ถ้าคุณขมวดคิ้วจนติดเป็นนิสัย ให้นึกหน้าคนอย่างท่านดาไลลามะ โอปราห์ วินฟรีย์ หรือใตรที่มักยิ้มในหน้าได้เสมอเอาไว้ แล้วผ่อนคลายกล้ามเนื้อตรงระหว่างคิ้ว รู้สึกดี และยิ้มน้อยๆ เสมอ
3. เลิกบ่น คนที่คอยบ่นโน่นนี่อยู่เสมอ ทำยังไงก็รับรองได้เลยว่าจะไม่ค่อยมีใครเขาเชื่อถือได้ เพราะอาการบ่นบ่งบอกว่าคุณไม่สามารถมองโลกให้เป็นบวกได้เลย แถมดูเป็นคนไม่มีความสุขเอาซะอีก
4. เงียบเข้าไว้ คนมีสง่า บารมี ส่วนใหญ่จะฟังมากกว่าพูด เขามักทำให้คนที่เขาฟังรู้สึกว่าเป็นคนพิเศษได้ วิธีตั้งใจฟังก็คือ สบตาผู้พูด คอยผงกหัวตาม อย่ากอดอก ผู้พูดทำท่าไหน เราก็โน้มทำตาม และตั้งใจฟังจริงๆ
5. สบายกับตัวเอง เมื่อคุณรู้สึกชอบตัวเอง ไม่รู้สึกกังวลว่ากลัวใครจะคิดไม่ดีกับเรา หรือเขาจะมองเรายังไงแล้ว เมื่อนั้นคุณจะมั่นใจในตัวเองได้ล่ะ และมันจะทำให้คุณเป็นธรรมชาติกับตัวเอง ดูจริงใจ น่าคบ และน่าไว้ใจขึ้นมาได้

ที่มา : นิตยสาร CLEO

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

รับมืออย่างไร? เมื่อแบรนด์เกิดดราม่าในพันทิป

          เว็บไซต์ Pantip เป็นอีกหนึ่งในชุมชนออนไลน์ที่มีอิทธิพลสูงมากในโลกดิจิตอล สามารถทำให้แบรนด์มีภาพลักษณ์เป็นบวกหรือลบได้เพียงชั่วข้ามคืน และเป็นอีกหนึ่งเว็บไซต์ที่ก่อให้เกิดดราม่าได้อย่างง่ายดาย เพราะแต่ละคนมีการแสดงความคิดที่หลากหลาย
แต่สิ่งที่พบเห็นได้บ่อยนั้นคือ ผู้บริโภคเลือกที่จะตำหนิแบรนด์ผ่านโซเชียลมีเดียมากขึ้น ทั้งในเรื่องการบริการ และสินค้า พบเจอสินค้าที่มีสิ่งผิดปกติ หรือเจอพนักงานที่ให้บริการไม่ดี ก็จะเขียนลงบนเฟซบุ้คของแบรนด์นั้นๆ และลงเว็บไซต์พันทิป แต่กว่าแบรนด์จะพบกระทู้เหล่านั้น ข้อมูลก็ได้ถูกแชร์ออกไปไม่รู้กี่ร้อยกี่พันครั้ง
          อภิศิลป์ ตรุงกานนท์ Product Development Manager แห่งเว็บไซต์ Pantip ได้เปิดคัมภีร์ที่แบรนด์จะรับมือกับ ”วิกฤตบนกระทู้พันทิป” ได้อย่างไร โดยมี Big idea อยู่ 6 ข้อ ตามตัวอักษร “PANTIP
http://www.uptraining.co.th/index.php/knowledge-2/403-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%9B.html

P : Prompt เตรียมพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์
- ติดตามกระทู้อย่างใกล้ชิด เพื่อการตอบสนองอย่างรวดเร็ว
- ใช้ Social Media Monitoring Tool ในการติดตามกระทู้บนโซเชียลมีเดีย
- แสดงตัวตนในกระทู้เพื่อให้ผู้อ่านรับรู้ว่าบริษัททราบเรื่องแล้ว ตัวอย่างเช่น “สวัสดีครับ ผมเป็นฝ่ายดูแลลูกค้าของบริษัท XXX ขอรับเรื่องจากเจ้าของกระทู้ไปตรวจสอบ แล้วจะรีบแจ้งผลให้ทราบในกระทู้นี้โดยเร็วที่สุดครับ”
- การตอบสนองช้าอาจจะทำให้เรื่องบานปลาย กลายเป็นวิกฤตที่จัดการได้ยาก
A : Apologize ถึงอย่างไรก็ต้องขอโทษไว้ก่อน
- กรณีที่บริษัทไม่ผิดก็สามารถขอโทษได้ เพราะเราไม่ได้ต้องการยอมรับผิด แต่เราต้องการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าไว้
- ถ้าบริษัทผิดจริง ต้องขอโทษอย่างจริงใจ และหากเป็นไปได้ ควรระบุแนวทางแก้ไขไม่ให้เกิดปัญหาเช่นนี้ขึ้นอีก
- ถ้าพนักงานของบริษัทผิด ต้องให้พนักงานคนนั้นขอโทษลูกค้าอย่างจริงใจ และหากเป็นไปได้ ควรแจ้งลูกค้าว่ามีการลงโทษต่อพนักงานคนนั้นอย่างไรบ้าง
N : Non-legal อย่าใช้กฎหมายกับลูกค้า
- ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่รู้กฎหมาย และไม่ได้อยากขึ้นโรงขึ้นศาลเป็นเรื่องฟ้องร้องแต่อย่างใด แต่ในกรณีที่แบรนด์มีการประกาศว่าจะดำเนินคดีกับผู้โพสท์กระทู้ หรือเผยแพร่ข้อความออกไปนั้น อาจส่งผลเชิงลบกับบริษัททันที เพราะผู้บริโภคจะรู้สึกเหมือนกำลังถูกข่มขู่ให้ปิดปาก และทำให้พวกเขาจะหาวิธีแก้เผ็ดบริษัทในช่องทางต่างๆ ไปเรื่อยๆ
- ผู้บริโภคที่รู้กฎหมายจะรู้ว่ากฎหมายหมิ่นประมาทมีข้อยกเว้น และยังมีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ด้วย ถ้าจะสู้คดีจะมีโอกาสชนะบริษัทสูง
- กรณีที่เป็นคู่แข่ง หรือบุคคลที่คอยปลุกปั่น มีเจตนาทำลายชื่อเสียงบริษัท บริษัทสามารถสู้ได้โดยการดำเนินคดีแบบเงียบๆ ไม่จำเป็นต้องประกาศให้โลกรู้ เพราะจะเป็นการเรียกแขกโดยใช่เหตุ
T : Tone แสดงความจริงใจต่อลูกค้า
- ลูกค้าไม่ใช่พระเจ้า แต่ลูกค้าเป็นปิศาจ จะทำอย่างไรให้ปิศาจพอใจ และไม่แสดงฤทธิ์เดชออกมา
- ตอบกระทู้ด้วยความรู้สึกเจ็บปวดยิ่งกว่าที่ลูกค้ารู้สึก
- อย่าลืมว่าเราไม่ได้คุยกับลูกค้าแบบสองต่อสอง แต่กำลังคุยโดยมีไทยมุงอีกเป็นจำนวนมาก
- การเปิดเผยชื่อ-นามสกุลของเรา อาจจะเป็นทางกระทู้หรือทางข้อความหลังไมค์ จะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกว่าเราจริงใจกับเขา ลูกค้าจะรู้ว่าเราคือ Contact Point สำหรับติดต่อในอนาคต
I : Influencer ผู้มีอิทธิพล (ในพันทิป) ช่วยเราได้
- ให้โฟกัสรับมือกับกระทู้ที่มีพลัง influencer เยอะๆ คือกระทู้ที่มีการโพสท์ข้อมูลแบบละเอียด คนจะสนใจเข้ามากันเยอะ คนอ่านอยากโหวตให้ติดกระทู้แนะนำ
- พยายามเป็นพันธมิตรกับ influencer ในพันทิปให้ได้ เขาจะช่วยเรารับมือกับวิกฤตในอนาคตได้
- ทำตนเองให้เป็น influencer
P : Policy เริ่มจากในองค์กรก่อน
- ควรมีการปรึกษาในองค์กรว่าใครเป็นคนมอนิเตอร์กระทู้เหล่านั้น
- ใครควรเป็นคนตอบกระทู้
- คนตอบกระทู้มีอำนาจตัดสินใจได้แค่ไหน
- ใครเป็นคนส่งต่อเรื่องไปยังแผนกต่างๆ ของบริษัท และเป็นคนคอยตามเรื่องให้ลูกค้า
- จะมีการประเมินผลความพอใจของลูกค้าอย่างไร

ที่มา : www.positioningmag.com

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

เทคนิคการสร้างทีมงานที่ดี


สิ่งใดที่ทำให้ทีมงานของคุณทำงานด้วยกันได้? และอะไรคือปัจจัยสำคัญที่สร้างทีมงานให้มีประสิทธิภาพ? ส่วนใหญ่แล้ว ทีมงานที่ดีมักประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้
- มองอนาคตร่วมกัน
ทีมงานจะมีจุดมุ่งหมายว่ากำลังจะไปทางใด และจุดมุ่งหมายนี้จะเป็นทางเดียวกันกับผู้บริหารระดับสูงขององค์กรสมาชิกเข้าใจหน้าที่ของตัวเองในฐานะที่เป็นคนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้เป้าหมายนั้นๆ บรรลุได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้

- มีจุดมุ่งหมายของทีมงานกับวัตถุประสงค์ที่แน่ชัดและเป้าหมายร่วมกัน
สมาชิกทุกคนในทีมงานมีบทบาทในการทำงานที่เด่นชัด และเข้าใจว่าหน้าที่ของตนอยู่ตรงไหน และหน้าที่ของคนอื่นในทีมงานอยู่ตรงไหน มีการวางเป้าหมายที่สามารถทำสำเร็จได้บ่อยครั้ง สมาชิกแต่ละคนยอมรับความแตกต่างของกันและกันได้ คุณค่าของสิ่งต่างๆ จะถูกตัดสินร่วมกันและกฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐานจะตั้งขึ้นโดยคนส่วนใหญ่

- มีบรรยากาศแห่งความไว้ใจและให้กำลังใจกัน
มีการเคารพซึ่งกันและกันโดยไม่เสแสร้ง เข้าใจกัน และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน สมาชิกในทีมงานจะใช้เวลาในการรู้จักกันและกันและแสดงความเห็นใจกัน ซึ่งจะนำมาซึ่งความร่วมมือที่ดี

- มีการสื่อสารที่ดี
มีการสื่อสารที่ครอบคลุมและได้รับข้อมูลที่ไม่มีการปิดบัง สมาชิกมีการฟังซึ่งกันและกันเท่ากับที่ตอบคำถามให้แก่กันและกัน สามาารถที่จะบอกผลกระทบทั้งในแง่ดีและในแง่ไม่ดีให้ฟังได้โดยไม่ขัดเขิน

- มีการยอมรับในปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างสร้างสรรค์ 
สมาชิกมีการเสนอความคิดเห็นที่แตกต่างกันและทำให้ปัญหาต่างๆ ดูเป็นเรื่องธรรมดา มีการจัดการเรื่องราวต่างๆ ในทันทีและทำให้ปัญหานั้นเป็นปัญหาของทั้งทีมงานมากกว่าที่จะโทษใครเพียงคนเดียว

- มีระเบียบการที่ชัดเจน
ทีมงานจะมีระเบียบการสำหรับการตัดสินใจ การมอบหมายความรับผิดชอบ และการจัดประชุมต่างๆ

- มีผู้นำที่เหมาะสม
ผู้นำจะใช้กำลังของสมาชิกทุกคนอย่างเป็นประโยชน์ที่สุด และรู้จักการใช้จิตวิทยาสำหรับทีมงาน

- มีการตรวจสอบวิจารณ์สิ่งต่างๆ 
ทีมงานมักจะประเมินทั้งหน้าที่และวิธีการทำงาน มีการทบทวนจุดมุ่งหมายและตั้งเป้าหมายใหม่เมื่อมีความจำเป็น สมาชิกมีทักษะในการแก้ไขปัญหาและเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากความผิดพลาดอย่างรวดเร็ว

- มีการมอบหมายงานให้แต่ละคนและพัฒนาคนให้เป็นมืออาชีพ 
สมาชิกทุคนจะมีการประเมินผลงานของตัวเองอยู่เป็นประจำ ผู้นำของทีมงานจะมีโอกาสในการพัฒนาสมาชิกแต่ละคน ในขณะที่สมาชิกคนอื่นๆ ก็มีสิทธิในการที่จะช่วยพัฒนาซึ่งกันและกัน หรือแม้แต่ช่วยพัฒนาคนที่เป็นผู้นำด้วย ทีมงานจะมีความสุขในการทำงาน

- มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับกลุ่มอื่นๆ
ทีมงานจะต้องมีความสัมพันธ์กับกลุ่มอื่นๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้อง และสามารถร่วมงานกับทีมงานอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี

อ้างอิง : miozaza.blogspot.com

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

CSR แท้? หรือ CSR เทียม?


          การประชาสัมพันธ์และประกาศตัวถึงกิจกรรมและโครงการต่างๆ ขององค์กรทางธุรกิจเพื่อสร้างสรรค์สังคม ประหนึ่งว่าสังคมจะแย่ถ้าเราไม่ช่วยกัน โครงการต่างๆ ผุดขึ้นมามากมาย พร้อมๆกับคำถามที่ตามมาตามประสาคนขี้สงสัย หรือการจ้องจับผิดของคนบางกลุ่ม เพียงเพราะรู้สึกว่ามันก็แค่การสร้างภาพให้ดูดีหรือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดแบบใหม่ จนมีข้อกล่าวหาว่าเป็น “CSRเทียม” แต่ถึงอย่างไรในสายตาของผู้เขียนก็ถือว่าดีกว่าไม่ได้ทำและเชื่อมั่นว่าเป็นบันไดขั้นแรกก่อนที่องค์กรทั่วไปจะก้าวเข้าสู่ “CSR แท้” ในที่สุด

          รู้ได้อย่างไรว่าแบบใดเป็น CSR แท้และแบบใดเป็น CSR เทียม นี่เป็นคำถามที่ผู้สื่อข่าวท่านหนึ่งถามผม ซึ่งผมก็คิดอยู่ในใจว่า “จะรู้ไปทำไม” เหมือนเราพยายามจะแยกแยะคนดียังไงไม่รู้แต่ก็เอาเถอะเมื่อถามมาก็ต้องตอบตามหลักวิชาการกลับไปวิธีการในการพิจารณาของผมจะดูที่ 2 ปัจจัยที่สำคัญคือ งบประมาณ (ค่าใช้จ่าย) ระหว่างเงินที่ใช้ไปในการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์กับเงินที่ใช้ไปในกิจกรรมหรือโครงการนั้นๆ เราจะพบว่ามีมากมายหลายกิจกรรมที่ใช้จ่ายเงินเพื่อการเป็นข่าวมากกว่าตัวเนื้องานหลายเท่าตัว จนดูเสมือนว่ากำลังใช้กิจกรรมเป็นเครื่องมือทางการตลาดมากกว่า เมื่อคิดกลับกันถ้าเอาเม็ดเงินที่ใช้ไปในการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์มาทำกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างเต็มที่ ผลที่ออกมาคงดีกว่านี้มากทีเดียว แบบนี้เรียกว่าเข้าข่ายทำน้อยแต่ตีปี๊บดัง ปัจจัยที่ 2 ที่ผมใช้ในการพิจารณาคือดูที่แรงขับดัน (Driving Force) ว่ามาจากไหน โดยปกติ CSR เทียมมักจะเกิดจากแรงขับดันจากภายนอกเป็นหลัก หรือที่เราเรียกว่า Outside-In คือดูว่าผู้บริโภคหรือลูกค้าอยากเห็นอะไรในตัวสินค้าและบริการขององค์กร หรือทำตัวให้เป็นในแบบที่บุคคลภายนอกอยากเห็น ซึ่งเป็นวิธีคิดแบบธุรกิจ ที่จะต้องศึกษาความต้องการลูกค้าและแปลงออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ข้อสังเกตง่ายๆ ก็คือ กิจกรรมเพื่อสังคมที่เกิดขึ้นมักจะดูแลและรับผิดชอบโดยคนเพียงบางกลุ่ม ซึ่งโดยมากจะหนีไม่พ้นฝ่ายประชาสัมพันธ์หรือฝ่ายการตลาด ในขณะที่พนักงานที่เหลือไม่ได้รับรู้หรือมีส่วนร่วมด้วยแต่อย่างใดกลับกันสำหรับองค์กรที่ทำ CSR แท้แรงขับดันจะเกิดขึ้นจากภายในที่เรียกว่า Inside-Out คือเกิดจากสำนึกที่จะต้องทำอะไรบางอย่างให้สังคมดีขึ้น หรือไม่สร้างภาระให้แก่สิ่งแวดล้อมและสังคมสะท้อนให้เห็นได้ในตัวผู้นำขององค์กรนั้นๆ ผู้นำบางคนสนใจและใส่ใจในพระพุทธศาสนา กิจกรรมต่างๆ ก็จะออกมาให้การสร้างเสริมให้คนภายในองค์กรทำความดีและแผ่ขยายออกไปสู่ครอบครัวและคนภายนอก ขณะที่ผู้นำที่ชอบกิจกรรมเยาวชนก็จะออกไปในรูปแบบด้านการส่งเสริมการศึกษาดนตรีที่สำคัญผู้นำเหล่านั้นจะปลูกฝังและสร้างทัศนคติร่วมให้เกิดขึ้นกับทุกคนในองค์กร ดังนั้น เราจะเห็นรูปแบบการทำกิจกรรมเพื่อสังคมขององค์กรแบบนี้จะมีพนักงานเข้ามามีส่วนร่วมจำนวนมาก จากหลากหลายหน่วยงานในองค์กร แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ล้วนแล้วแต่สร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่สังคมและส่วนรวมเหมือนกัน จุดที่ต่างกันก็คงอยู่ที่ความยั่งยืนเท่านั้น เราอาจแบ่งการทำ CSR ได้เป็น 2รูปแบบคือ

แบบที่ 1 เกิดขึ้นโดยองค์กรตามลำพัง (Corporate-drivenCSR) 
ส่วนใหญ่ของการดำเนินการจะเป็นไปโดยความคิดและการกระทำของคนภายใน ได้แก่
- CSR in process (Inside Out) 
จะเป็นการทำ CSR ที่ฝังเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางธุรกิจ แทรกเข้าไปในทุกขั้นตอนตั้งแต่การวิจัยพัฒนา การออกแบบ การผลิตการจัดส่งจนถึงการบริการ
- CSR after process (Outside In) 
เป็นการทำ CSR เพื่อส่งเสริมการทำธุรกิจ โดยมากจะไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางธุรกิจโดยตรง แต่จะเป็นส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์องค์กร

แบบที่ 2 เกิดจากการมีส่วนร่วมขององค์กร และคนภายนอก (Social-driven CSR) 
การทำ CSR แบบนี้องค์กรจะดึงลูกค้า คู่ค้าหรือแม้แต่สังคมและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อสังคมในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง อาทิผ่านการซื้อสินค้าและบริการโดยที่ส่วนหนึ่งของรายได้จากการจัดจำหน่ายจะมอบให้แก่องค์กรสาธารณ-กุศลเพื่อส่งเสริมกิจกรรมของมูลนิธิหรือองค์กรการกุศลนั้นๆ หรืออาจจะเป็นการสร้างกิจกรรมเพื่อสังคมโดยเปิดโอกาสให้คนภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมจากกิจกรรมที่องค์กรจัดขึ้น ซึ่งการทำในแบบนี้จะให้ผลทางด้านการสื่อสารกับสังคมได้กว้างขวาง จนอาจขยายกลายเป็นกระแสของสังคมในที่สุด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดตอนนี้คือการนำเสนอภาพยนต์ The Convenient Truth ที่แสดงนำโดย อดีตรองประธานาธิบดีอัล กอร์ของสหรัฐอเมริกา ตามมาด้วยการรณรงค์เพื่อลดวิกฤตโลกร้อน ที่มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครออกมาถือถุงผ้า ขยายพื้นที่การจราจรสำหรับรถจักรยาน และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย

ผู้เขียน : จำลักษณ์ ขุนพลแก้ว จากหนังสือ Productivity World

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

หลักสูตร Adventure Team Synergy Course "รวมพลัง สร้างทีมงานอันทรงคุณค่า"

หลักสูตร Adventure Team Synergy Course "รวมพลัง สร้างทีมงานอันทรงคุณค่า"

http://www.uptraining.co.th/index.php/team-building-csr-zone/adventure-team-synergy-course

          เป็นหลักสูตรที่เรียนรู้ถึง การให้บริการแก่ลูกค้า ทั้งภายในและภายนอก โดยการพัฒนาทีมงานให้ได้รู้จัก และเรียนรู้ซึ่งกันและกันทั่วทั้งองค์กร เพื่อให้การประสานงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่ออกแบบมาเพื่อพัฒนาเสริมสร้างทีมงานให้พร้อมต่อการให้บริการของทั้งทีม
สาเหตุจากความผิดพลาดขององค์กร หรือจากลูกค้าเอง

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ของบุคลากรในองค์กร ให้มีการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ รวมทั้งการทำงานเป็นทีม
2. เพื่อเป็นการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันของบุคลกร ในสถานการณ์ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ การทำกิจกรรม และการปฏิบัติภารกิจต่างๆ 
3. เพื่อให้เกิดการพัฒนาบุคลากร และนำไปสู่การพัฒนาทีมงาน ที่แข็งแกร่ง เป็นพลังให้กับองค์กร ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

รายละเอียดเพิ่มเติมหลักสูตร คลิก

 

 

Team Building & CSR Zone (การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ)


 ตัวอย่างรายละเอียดหลักสูตร "คลิก" เพื่อชมข้อมูลเพิ่มเติม






ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ 02-1062220, 094-6904904 (คุณอุ้ย)