วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

สร้างทีมเวิร์กแบบญี่ปุ่น



" ทีมเวิร์กแบบญี่ปุ่น…การทำงานแบบญี่ปุ่นที่เน้นการทำงานร่วมกันเป็นทีมโดยเน้นการระดมสมอง การทำงานเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้เมื่อคนสองคนหรือมากกว่า นั้นที่มีประวัติการศึกษาและประสบการณ์การทำงานที่ต่างกันมาทำงานด้วยกัน ทำให้เกิดการประสานกำลังที่จะนำไปสู่การได้ผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่เหนือกว่าการ ทำงานแบบอื่นๆ "

คนที่ประสบความสำเร็จส่วนมากไม่ได้มีแค่ความสามารถในการทำงานเท่านั้น แต่ยังมีความสามารถในการบริหารคน เพราะไม่มีใครที่จะประสบความสำเร็จจากการทำงานคนเดียวได้ คนที่ประสบความสำเร็จจะเก่งในด้านการสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เพราะเขาสามารถดึงเอาศักยภาพของทุกคนออกมาใช้เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อผลสำเร็จตามเป้าหมาย

โดยเฉพาะการทำงานแบบญี่ปุ่นที่เน้นการทำงานร่วมกันเป็นทีมโดยเน้นการระดมสมอง การทำงานเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้เมื่อคนสองคนหรือมากกว่านั้นที่มีประวัติการศึกษาและประสบการณ์การทำงานที่ต่างกันมาทำงานด้วยกัน ทำให้เกิดการประสานกำลังที่จะนำไปสู่การได้ผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่เหนือกว่าการทำงานแบบอื่นๆ หรือที่เรียกว่า Synergy การทำงานเป็นทีมที่จะประสบความสำเร็จมีดังต่อไปนี้

• ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง
หัวหน้างานหลายๆ คนชอบควบคุมความคิดลูกน้อง ต้องการให้ลูกน้องคิดเหมือนตัวเองและทำแบบที่ตนเองต้องการ แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คงไม่ต่างกับการทำงานคนเดียวเพราะก็เหมือนกับการที่หัวหน้าคิดคนเดียว ทำคนเดียว ลูกน้องเป็นเพียงผู้คอยทำตามคำสั่งเท่านั้น การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพก็คือ การที่ทุกคนในทีมจะต้องออกความคิดเห็นใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน หรือต่อยอดจากสิ่งที่เคยทำๆ กันมา จึงจะเกิดผลแบบทวีคูณ

อ่านต่อ คลิก
UP Training  อ่านบทความอื่นๆ คลิก

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

การสร้างทีมงานให้ยิ่งใหญ่



          ทำไมถึงต้องมีการทำงานเป็นทีม เพราะการทำงานคนเดียวไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ได้ เพราะการทำงานคนเดียวมีข้อจำกัดมากมาย การทำงานคนเดียวเหมาะสำหรับการที่จะประสบความสำเร็จในเป้าหมายเล็กๆ แต่หากต้องการประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ เราจึงต้องทำงานกันเป็นทีม


          หากเปรียบเทียบระหว่างช้างกับมดป่า ช้างตัวโตมีพลังและกำลังมากมายมหาศาล แต่ถ้า มดป่ารวมกันเป็นฝูงใหญ่ ช้างนั้นก็ต้องกลัวมดป่าฝูงใหญ่เช่นกัน


          ปลวก ปลวกเป็นสัตว์ตัวเล็กๆ แต่ปลวกสามารถสร้างจอมปลวกอันเข้มแข็งใหญ่โตเท่าภูเขาลูกเล็กๆขึ้นมาได้ ซึ่งจอมปลวกสามารถทนต่อลมฝน อีกทั้งพายุไม่สามารถจะทำลายลงได้ ทั้งนี้เพราะเหตุใด ก็เพราะปลวกเป็นสัตว์ตัวเล็กที่รู้จักช่วยเหลือกัน รู้จักความสามัคคี ทำงานกันเป็นทีม และมีความรู้สึกรับผิดชอบต่อหน้าที่ของมัน


" ฟิช! ป(ล)า ฏิหาริย์แห่งความสำเร็จ พัฒนาความสุขให้ชีวิต เป็นหนังสือที่บ่งบอกเรื่องของการทำงานในตลาดปลา ซีแอตเติล ให้ประสบความสำเร็จซึ่งพูดถึงเรื่องของ การใส่ใจในบริการ การเลือกใช้ทัศนคติ เล่นให้เป็นงาน สร้างสรรค์วันดี และอีกปัจจัยหนึ่งในการทำงานได้ประสบความสำเร็จก็คือการทำงานเป็นทีมนั่นเอง ตลาดปลาในซีแอตเติลถือว่าเป็นกรณีศึกษาที่น่าเรียนรู้ อีกทั้งยังมีผู้คนจากหลายประเทศไป ศึกษาและดูงาน "


          นิ้วหนึ่งนิ้วจะไม่มีพลัง แต่ถ้านิ้วมีห้านิ้วร่วมกันเป็นมือ มือนั้นก็จะทำอะไรได้หลายอย่าง เช่นกัน คนหนึ่งคนก็เหมือนกับนิ้วหนึ่งนิ้ว แต่ถ้ามีคนห้าคนรวมกันก็จะทำอะไรได้มากมาย ถ้าท่านลองเปิดร้านอาหาร ท่านจะสามารถทำงานคนเดียวได้หรือไม่ แต่หากท่านมีคนห้าคนช่วยกันทำงานเป็นทีม การเปิดร้านอาหารก็จะทำงานได้ง่ายขึ้นและประสบความสำเร็จมากกว่าการทำงานเพียงคนเดียว


หลักพุทธศาสนากับการทำงานเป็นทีม สังคหวัตถุ 4 อันได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา
ทาน คือ การให้ การเสียสละ การแบ่งปัน ช่วยเหลือกันในทีม
ปิยวาจา คือ การกล่าววาจาที่สุภาพ อ่อนหวาน ไม่พูดเสียดสี ไม่พูดว่ากล่าวให้ร้ายกันในทีม ไม่พูดหยาบคาย มีการชมเชยกันในทีมด้วยความจริงใจ

อ่านต่อ คลิก
UP Training  อ่านบทความอื่นๆ คลิก

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

เทคนิคการสร้างทีมเวิร์ค(Teamwork) เพื่อขับเคลื่อนองค์กร



          การทำงานเพื่อมุ่งไปสู่ความสำเร็จนั้นประกอบด้วยหลาย ๆ ปัจจัย หนึ่งในนั้น คือ บุคลากร หรือ คนทำงานที่จะทำให้ผลสำเร็จของงานเกิดขึ้น แต่คน ๆ เดียวไม่สามารถทำให้งานสำเร็จผลได้ การรวมตัวของคนหลาย ๆ คนเพื่อทำงานเป็นทีม จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดของการทำงาน

การทำงานเป็นทีม หรือ ทีมเวิร์ค (Teamwork) เป็นกระบวนการที่ยิ่งมีประสิทธิภาพมากเท่าไร ความสำเร็จของงานก็มีมากเท่านั้น และยังช่วยผลักดันองค์กรให้ก้าวไปสู่เป้าหมายได้เร็วขึ้นอีกด้วย การทำงานในลักษณะนี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติรู้สึกอึดอัดใจอยู่บ้าง แต่ก็เป็นเพียงในช่วงแรก ๆ เมื่อเราคุ้นชินกับขั้นตอนแล้ว เราจะรู้สึกว่าวิธีการทำงานแบบนี้ทำให้งานสำเร็จเร็วขึ้น

กระบวนการที่จะทำให้การทำงานประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยความเข้าใจของคนทำงาน เพื่อให้เกิดการยอมรับในวิธีการ และทำงานร่วมกันได้ การสร้างทีมเวิร์คที่เข้มแข็งจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากขาดสิ่งนี้การทำงานให้ประสบความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ยาก หรือหากเกิดขึ้นได้ก็ช้าเกินไป ปัจจัยหลักที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ต้องเกิดจากการมีทีมเวิร์คที่เข้มแข็ง โดยการสร้างทีมเวิร์คที่เข้มแข็งนั้น ต้องประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้

สร้างความเข้าใจก่อนเริ่มทำงาน
การนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จนั้น ผู้นำองค์กรจำเป็นต้องเข้าใจความหมายของการดำเนินการ แล้วจึงนำความรู้เหล่านั้นไปเผยแพร่ให้กับคนทำงานได้รับรู้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
ไม่ใช่เข้าใจเพียงความหมาย แต่สมาชิกทุกคนในทีมต้องเข้าใจจุดประสงค์ของการทำงานก่อน แล้วจึงค่อยตัดสินใจทำงานนั้นไปพร้อม ๆ กัน หรืออาจกล่าวได้ว่าวิธีการนี้ เป็นการปลุกใจคนทำงานก่อนที่เราจะเริ่มทำงานจริง เมื่อคนทำงานเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว การทำงานเป็นทีมก็จะแข็งแกร่งขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

บทบาทและเป้าหมายที่ชัดเจน
ทีมจะเข้มแข็ง และสามารถทำงานได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยก็ต่อเมื่อคนทำงานทุกคนคิดเหมือนกัน หรืออย่างน้อยคิดให้คล้ายคลึงกันมากที่สุด ทีมก็จะแข็งแกร่งขึ้น และทำงานได้ตรงจุดประสงค์ขึ้น โดยทีมต้องกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถเข้าถึงและจับต้องได้ อีกทั้งสามารถปฏิบัติได้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงทฤษฎีที่ถูกกล่าวอ้างขึ้นมาเท่านั้น เพื่อนร่วมงานของเราต้องเข้าใจอย่างแท้จริง เราต้องสามารถอธิบายได้ว่างานแต่ละชิ้นมีวิธีการทำอย่างไร เมื่อเข้าใจตรงกันแล้ว งานที่ทีมช่วยกันทำก็จะสำเร็จผลได้ง่ายขึ้น และการต้องเผชิญกับอุปสรรคก็จะน้อยลง ดังนั้น การที่จะมีทีมทำงานที่แข็งแกร่งได้นั้น เป้าหมายและบทบาทของสมาชิกต้องชัดเจน ไม่เกิดความสบสนเมื่อต้องปฏิบัติงานจริง

กล้าเปิดใจในการแสดงความคิดเห็น
ทีมทำงานที่เข้มแข็งเริ่มต้นจากการทำงานด้วยร่วมกันด้วยบรรยากาศที่เป็นกันเอง อบอุ่น มีความกระตือรือร้น และทุกคนช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานอย่างจริงใจ และไม่มีสัญญาณของความขัดแย้ง ทำให้เห็นการแสดงออกถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน การรู้สึกเห็นอกเห็นใจกันของคนในทีม จะช่วยให้การสร้างทีมเวิร์คเพื่อขับเคลื่อนองค์กรนั้นราบรื่น และก้าวหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว การสร้างทีมที่เกิดขึ้นจากความไว้วางใจกัน สมาชิกต้องมีความไว้วางใจกัน สื่อสารกันอย่างเปิดเผยจริงใจ ไม่มีความลับต่อกัน กล้าแสดงความคิดเห็นต่อทีมอย่างเปิดเผย ไม่ต้องกลัวว่าความคิดของเราจะไม่มีประโยชน์ คนทำงานบางคนมักจะคิดว่าเสียงของเราเป็นเพียงเสียเล็ก ๆ อาจจะไม่มีความสำคัญต่อทีม ในการสร้างทีมเวิร์คที่เข้มแข็งนั้น ไม่ว่าจะเป็นเสียงเล็กหรือเสียงใหญ่ ก็ควรพูดออกไป เพราะความคิดเห็นของเราอาจจะช่วยจุดประกายความคิดให้กับทีมของเราได้อย่างไม่รู้ตัว ข้อเสียของการไม่เปิดใจนำความเสียหาย ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตขององค์กรได้

การพัฒนาศักยภาพของทีม
ต้องยอมรับว่าการทำงานเป็นทีมนั้น ส่วนหนึ่งอาจจะมีอุปสรรคอยู่ที่ศักยภาพของสมาชิกในทีม ปฏิเสธไม่ได้ว่าความสามารถที่ไม่เท่ากันของแต่ละคน ทำให้ทีมก้าวเดินไปได้ช้า ดังนั้น หัวหน้าทีมจึงต้องสำรวจและเรียนรู้เกี่ยวกับสมาชิกในทีม มีคนทำงานคนใดบ้างที่ยังทำงานได้ช้า เหตุใดเขาจึงทำงานได้ช้า เป็นเพราะติดขัดกับปัญหาใดหรือไม่ หากมีให้ช่วยทำการแก้ไข เมื่อสมาชิกทุกคนในทีมมีความรู้ความสามารถในระดับที่ใกล้เคียงกันแล้ว การทำงานก็จะเร็วขึ้น และในขณะเดียวกัน เพื่อให้เกิดศักยภาพในการทำงานเป็นทีม เราควรสร้างแรงจูงใจในการทำงาน และทัศนคติด้านบวกให้กับทีม นำมาซึ่งความมุ่งมั่นในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ

          การทำงานเป็นทีมนั้นส่งผลต่อความสำเร็จของการทำงานเป็นอย่างมาก หากได้ทำงานกับทีมที่ดี งานก็ดีตามไปด้วย การที่จะเริ่มต้นทำงานเป็นทีม เราต้องมั่นใจทีมที่เราทำงานด้วยนั้น มีความแข็งแกร่งมากพอ หากยังมีไม่เพียงพอ ให้เริ่มต้นสร้างทีมเวิร์คเพื่อการทำงานที่ดีก่อน แล้วค่อยทำงานเป็นทีมเพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวหน้าต่อไป

ที่มา : th.jobsdb.com
UP Training  อ่านบทความอื่นๆ คลิก

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

5 ขั้นตอนสร้างทีมงาน Startup คุณภาพ



          อย่างที่เคยเขียนไว้ในบทความเรื่อง สิ่งที่ (เพิ่ง) เรียนรู้จากการทำข่าว Startup ว่าการเป็นผู้ประกอบการสายเทคโนโลยีมันไม่ใช่งาน One Man Show ถึงแม้ว่าตัว Founder เองอาจจะมีไอเดียดีๆ มากมาย แต่ประเด็นคือเขาไม่สามารถจะทำมันได้ด้วยตัวเองเพียงคนเดียว และเนื่องจาก Founder ส่วนมากไม่ใช่ Recruiter แต่คุณก็ต้องมีบทบาทนี้เมื่อจะสรรหาทีมงาน การเอางบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดไปจ้างคนที่มีคุณสมบัติไม่ตรงกับงาน (ถึงเขาจะเก่งก็เถอะ) ไม่ใช่เรื่องที่ Lean Startup ควรจะทำแน่ๆ
          บทความจาก Inc.com ชิ้นนี้ให้แนวทางเกี่ยวกับขั้นตอนการสรรหาทีมงานสำหรับ Startup ที่ควรรู้เอาไว้ เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนก่อนการจ้างไปจนถึงรับเข้ามาร่วมทีม ขอสรุปให้ฟังเป็นข้อๆ นะคะ

1.ระบุตำแหน่ง
สมาชิกที่สำคัญที่สุดในทีมคือผู้ก่อตั้ง ก่อนที่จะจ้างคนอื่นๆ ทีมผู้ก่อตั้งเองก็ต้องรู้ก่อนว่าตัวเองมีความเชี่ยวชาญในด้านใดบ้าง แล้วมีหน้าที่ใดอีกบ้างที่ทีมต้องการ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะเลือกคนที่มีความสามารถในด้านที่คนอื่นในทีมไม่มี รวมทั้งต้องจัดลำดับความสำคัญของแต่ละงานด้วยว่าจำเป็นต้องใช้คนจำนวนเท่าใด
และที่สำคัญที่สุด อย่าลืมนึกถึง “ค่าจ้าง” ที่คุณสามารถจ่ายได้จริงๆ สำหรับคนที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของคุณด้วยนะ

2. รูปแบบของการจ้างงาน
ในระยะเริ่มต้น คุณอาจจะไม่ต้องจ้างพนักงานแบบ full – time ก็ได้ โดยอาจจะเข้าไปร่วมงานที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาคนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ มาเป็นที่ปรึกษาให้กับธุรกิจของคุณไปก่อน
การเริ่มจ้างพนักงานแบบ part-time หรือ contractor ในระยะแรก ก็ถือว่าเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยผู้ประกอบการลดความเสี่ยงในการจ้างงาน เพราะการจ้างงานแบบ full-time มีต้นทุนที่สูงกว่า เมื่อพนักงาน part- time มีความเชี่ยวชาญมากขึ้นก็จ้างเป็นพนักงาน full-time

3. ระบุคุณสมบัติของแคนดิเดท
การมองหา candidate จะมีสิ่งที่ต้องพิจารณาอยู่ 4 เรื่อง ได้แก่
- เขามีความสามารถและประสบการณ์ที่คนอื่นๆ ในทีมไม่มีหรือไม่
- เขาได้รับการรับรองโดยใครสักคนที่คุณรู้จักหรือไม่
- เขายินดีที่จะรับเงินเดือนแบบจำกัดในช่วงเริ่มต้นของ Startup หรือไม่
- เขาเป็นคนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของคุณหรือไม่
- ถ้าคุณหาคนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ข้างต้นได้ ก็น่าจะเป็นโอกาสที่คุณจะได้คนมาร่วมทีมแล้วล่ะ

4. การสัมภาษณ์
เมื่อคุณพบแคนดิเดทที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการแล้ว ทีนี้ก็มาถึงขั้นตอนการเรียกมาสัมภาษณ์ ซึ่งจะมีไกด์ไลน์ในการตั้งคำถามสำหรับสัมภาษณ์งานดังนี้
- เตรียมตัวล่วงหน้า
- ประเภทของคำถาม ต้องครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้ : Fact-finding, ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์, การแก้ปัญหา และพฤติกรรม
- กำหนดประเด็น
- อย่าลืมสังเกตภาษากายของแคนดิเดทด้วย
เมื่อสิ้นสุดการสัมภาษณ์ ก็ลองเช็คเบื้องหน้าเบื้องหลังของแคนดิเดทที่คุณสนใจสักเล็กน้อย แล้วค่อยเรียกมาทำเทสต์ เช่น อาจจะให้ลองทำโปรเจคต์เล็กๆ แล้วค่อยๆ ขยายไปถึงงานที่ใช้ความรับผิดชอบมากขึ้น ระหว่างการเทสต์นี้ คุณก็ต้องคอยสังเกตว่าเขาสื่อสารกับคนอื่นๆ ในทีมอย่างไร เขารับมือกับความกดดันอย่างไร และเขาทำงานสำเร็จหรือไม่

5. การทดสอบหลังจ้างงาน และการสร้างแรงจูงใจ
สมมุติว่าในที่สุดเขาก็ผ่านการทดสอบ และกลายเป็นผู้ร่วมทีมกับคุณ ก็ไม่ได้แปลว่าทุกอย่างมันจบแล้วนะ เพราะหลังจากจ้างมาแล้ว คุณก็ต้องมีบททดสอบหรือการประเมินหลังจ้างงานอีกรอบ ตรงนี้ไม่มีรายละเอียดในบทความ แต่คาดว่าน่าจะคล้ายๆ กับการประเมินในระยะทดลองงานหรือ Probation ที่เราคุ้นเคยกันดี นอกจากเรื่องการทดสอบหลังจ้างงานแล้ว ก็ยังมีเรื่องการพัฒนาในสายอาชีพที่บริษัทควรจัดหาให้กับพนักงานด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเทรนนิ่ง การเลื่อนตำแหน่ง ซึ่งจะเป็นรางวัลที่ช่วยสร้างแรงจูงใจให้เขาอยู่กับคุณไปนานๆ


ที่มา : thumbsup.in.th
UP Training  อ่านบทความอื่นๆ คลิก

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

เคล็ดลับ 5 ประการ เพื่อให้นำเสนองานอย่างสมบูรณ์แบบ



1.ห้ามบอกผู้ฟังเด็ดขาดว่าคุณรู้สึกกังวลหรือประหม่า เพราะพวกเขาจะเริ่มมองหาภาษากายที่แสดงความประหม่าและจะเห็นมันอย่างแน่นอน พวกเขาจะไม่มีวันรู้เลยหากคุณไม่บอก

2.ใช้ท่าทางแสดงความมั่นใจขณะพูด ต่อให้รู้สึกกลัวแทบตายก็ตาม ใช้ท่าประกบปลายนิ้ว แบและกำมือ และอย่ากอดอก

3.อย่าแสดงท่าทางในแง่ลบ หลีกเลี่ยงการชี้นิ้วไปที่ผู้ฟัง อย่าไขว้แขนไขว้เท้า แตะใบหน้า หรือยึดแท่นปาฐกถาแน่นเกินไป

4.แสดงออกแต่อย่ามากเกินไป เมื่อทำท่าทางต่าง ๆ อย่ากางนิ้วและอย่ายกมือขึ้นมาสูงเกินระดับคาง

5.ดูกระตือรือร้นเข้าไว้ แสดงสีหน้าให้สอดคล้องกับสิ่งที่พูด ผู้คนมีแนวโน้มจะเชื่อคุณและคล้อยตามคุณมากขึ้นหากสีหน้าของคุณคล้อยตามคำพูด แต่พยายามอย่าให้ดูโอเวอร์จนเกินไป


ที่มา : จากหนังสือ “ภาษากายในที่ทำงาน” เขียนโดย Allan & Barbara Pease แปลโดย พลอยแสง เอกญาติ
UP Training  อ่านบทความอื่นๆ คลิก

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

เทคนิคการแลกนามบัตรอย่างไร ให้คุณดู Professional ตั้งแต่แรกพบ



ขั้นตอนที่ 1 ฉุกคิดก่อนจะแลกนามบัตร
1. ข้อปฏิบัติในการแลกนามบัตรที่สำคัญที่สุดคือ "มีนามบัตรติดตัวอยู่เสมอ" เพราะเราเองไม่อาจคาดเดาได้ว่าเราจะเจอใครเมื่อไรบางทีเจอคนสำคัญที่มีผลต่อหน้าที่การงานหรือความสัมพันธ์ของเราในอนาคต แต่เราไม่มีนามบัตรเอาไว้แลก ก็เท่ากับการปิดกั้นโอกาสที่จะรู้จักกับคนคนนั้นครับ
2. ให้คิดไว้เสมอว่านามบัตรเปรียบเสมือน "หน้าตา" ของคู่สนทนา ดังนั้น ต้องละเอียดและให้เกียรติกับการแลกนามบัตร

ขั้นตอนที่ 2 เตรียมนามบัตร
1. ให้ใส่เคสนามบัตรไว้ในกระเป๋าด้านในสูท หรือกระเป๋าถือ
2. ต้องเตรียมนามบัตรไว้พร้อมเสมอ พร้อมยื่นได้เลยโดยไม่ติดขัดเมื่อรู้ว่าจะต้องแลกนามบัตรให้เอาออกมา จากเคสนามบัตรและสอดเก็บไว้
3. ให้ยื่นนามบัตรที่สะอาดเท่านั้น ตรวจสอบนามบัตรในเคสนามบัตรเสมอว่าสกปรก หรือพับอยู่หรือไม่ ถ้าพบว่าสกปรกแม้จะนิดเดียวให้ทิ้งนามบัตรใบนั้นไปเลยครับ
4. ให้ตรวจสอบนิ้วมือด้วยว่าสกปรกหรือไม่ควรให้สะอาดอยู่เสมอ

ขั้นตอนที่ 3 ยื่นนามบัตร รับนามบัตร
1. ไม่ยื่นนามบัตรขณะนั่งหรือยื่นผ่านโต๊ะ ถ้ามีโต๊ะอยู่ให้ลุกออกมาแลกนามบัตรในบริเวณที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง
2. ผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าต้องเป็นผู้ยื่นก่อนเสมอยกเว้นการเข้าเยี่ยมบริษัทแขกผู้มาเยี่ยมจะต้องเป็นผู้ยื่นก่อน
3. ถ้าเรายื่นนามบัตรออกไปช้ากว่าผู้ที่อาวุโสกว่า ต้องกล่าวขอโทษที่ยื่นช้า แล้วถึงยื่นนามบัตรได้
4. ถ้าแลกนามบัตรพร้อมกับเจ้านาย ให้ยื่นนามบัตรภายหลังที่เจ้านายแลกนามบัตรเสร็จ
5. พยายามยื่นนามบัตรในระดับที่ต่ำกว่าระดับที่ฝั่งตรงข้ามยื่นมาเพราะมีความหมายว่าเราให้เกียรติและเคารพเขา
6. ต้องยื่นนามบัตรโดยให้นามบัตรหันหัวไปในทิศที่คู่สนทนาสามารถอ่านข้อความบนนามบัตรได้ (เป็นการเอาใจใส่ฝั่งตรงข้าม)
7. ขณะยื่นนามบัตร ให้ถือนามบัตรตัวเองด้วยมือขวา หันไปที่คู่สนทนา มองตา และมอบรอยยิ้มพิมพ์ใจ แล้วแนะนำตัวขณะที่ยื่นนามบัตรออกไป ที่ญี่ปุ่นจะใช้แบบฟอร์ม ชื่อบริษัท...ชื่อแผนก...ตามด้วยชื่อเรา
8. ขณะยื่นนามบัตรด้วยมือขวา ก็รับนามบัตรด้วยมือซ้าย เมื่อรับมาด้วยมือซ้ายแล้วให้ใช้มือขวามาประคอง แล้วถือนามบัตรด้วยมือสองมือไว้สูงกว่าอก
9. เมื่อรับนามบัตรมาแล้ว ให้พูดว่า ขออนุญาตรับนะครับ ฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ
10. ถ้าอ่านชื่อลูกค้าไม่ออก ให้สอบถาม ณ ขณะนั้นทันที
11. ขณะถือนามบัตรลูกค้า ให้ระวังไม่ให้นิ้วมือกดทับบริเวณโลโก้บริษัท หรือชื่อลูกค้า

ขั้นตอนที่ 4 หลังจากรับนามบัตร
1. ไม่เก็บนามบัตรที่รับเข้ามาใส่เคสทันที (แต่ให้ถือไว้ระดับสูงกว่าหน้าอก)
2. ถ้ามีการแลกนามบัตรจำนวนหลายใบแล้วนั่งลงประชุม ให้เรียงนามบัตรลงบนโต๊ะตามลำดับที่นั่งของลูกค้า โดยจะนำนามบัตรของคนที่อาวุโสที่สุดมาวางไว้บนเคสนามบัตร
3. ขณะประชุม ไม่จับนามบัตรพร่ำเพื่อเพราะถือว่าเสียมารยาท
4. ห้ามโน้ตหรือเขียนอะไรลงนามบัตรต่อหน้าลูกค้า ให้เขียนได้หลังจากกลับบริษัทไปแล้ว
5. การทำท่าจะเก็บนามบัตรเข้าเคสนามบัตรขณะประชุมหรือคุยงาน เทียบเท่ากับการส่งสัญญาณว่าจะจบการประชุมแล้ว ดังนั้น ต้องดูจังหวะคนรอบข้างให้ดี
6. นามบัตรที่รับมาต้องใส่ในเคสนามบัตรเท่านั้น ไม่นำไปใส่กระเป๋าเสื้อ หรือกระเป๋าถือโดยเด็ดขาด

          อย่าลืมนะครับ...ถ้าคุณให้ความสำคัญกับฝ่ายตรงข้ามตั้งแต่แรกพบด้วยการใส่ใจในการแลกนามบัตรคุณอาจจะได้คู่ธุรกิจที่ภักดีคู่ชีวิตที่ยอดเยี่ยมหรือเพื่อนตายตลอดชีวิตก็เป็นได้ การแลกนามบัตรลึกซึ้งกว่าที่คุณเคยคิด จริงไหมครับ เอ้า ! เริ่มได้เลย

ที่มา : www.impressionconsult.com และ www.prachachat.net
UP Training  อ่านบทความอื่นๆ คลิก

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559

ทฤษฎีการเป็นผู้นำ ตามแนวพระราชดำรัสในหลวง


          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัส ชี้แนะแนวทางในการสร้างความสามัคคีของบุคคลในชาติ โดยอิงกับวิถีที่ทรงใช้ในการดำเนินชีวิตของพระองค์เอง ทั้งนี้หลายท่านคงได้รับฟังพระราชดำรัสโดยตรงจากทางโทรทัศน์ บางท่านก็ได้อ่านจากหน้าหนังสือพิมพ์ ซึ่งมี นักข่าวนักวิจารณ์หลายท่านได้วิเคราะห์พระราชดำรัสและ ตีความเนื้อหาในแง่ต่างๆ สำหรับผู้เขียนนั้นจะขออัญเชิญแนวความคิดที่ได้เรียนรู้จากพระราชดำรัสมาพูด คุยกับท่านผู้อ่านในแง่การบริหารจัดการด้าน HR ที่ผู้เขียนถนัด

          ในฐานะที่คลุกคลีกับวงการ HR และการพัฒนาภาวะผู้นำ (Leadership) ของนักบริหาร ผู้เขียนมีความเห็นว่า พระเจ้าอยู่หัวของเราชาวไทยนั้นมีภาวะผู้นำที่ล้ำเลิศเป็นที่น่ายกย่องในทุก กรณี จากการศึกษาทฤษฎีของความเป็น ผู้นำในหลายสำนัก ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีที่นำเสนอหลักการว่าบุคคลที่จะเป็นผู้นำจะต้องมีแหล่งที่ มาของอำนาจ (Sources of Power) ที่สมบูรณ์ เช่น มีอำนาจในการให้คุณให้โทษ (ให้รางวัลและลงโทษ) มีอำนาจตามตำแหน่ง มีอำนาจเพราะมีความรู้ความเชี่ยวชาญ (Expertise) หรือมีอำนาจบารมี (Charisma) อันเกิดจากบุคลิกลักษณะเฉพาะตัวที่ดูดีมีเสน่ห์น่าคบหา หรือเพราะมีชาติกำเนิดอยู่ในวงศ์ตระกูลที่ดีมีชื่อเสียง จากแง่คิดของทฤษฎีนี้ พระเจ้าอยู่หัวของเรามีครบทุกประการ

          ครั้นจะพูดถึงทฤษฎีความเป็นผู้นำที่กล่าวถึงคุณสมบัติของผู้นำ ว่าต้องเป็นผู้ที่รู้จักรักษาสมดุลของบทบาทในการมุ่งงาน (Task-Oriented) เน้นการบรรลุเป้าหมาย จัดวางโครงสร้างวิธีการทำงาน และบทบาทในการมุ่งเน้นพัฒนาสัมพันธภาพกับผู้ร่วมงาน (People-Oriented) พระองค์ท่านก็ทรงเป็นเยี่ยงอย่างที่ดีที่เวลาทรงงานก็ทรงงานอย่างหนัก จริงจัง มีวัตถุประสงค์และกระบวนการทำงานที่ ชัดเจนเป็นระบบ มีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่วนในเรื่องของการมี สัมพันธภาพที่ดีกับทีมงานนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชอารมณ์ขันที่เป็นที่ยกย่อง (แนะนำให้อ่านหนังสือพระราชอารมณ์ขันของพระเจ้าอยู่หัว ที่เขียนโดย คุณวิลาศ มณีวัต - ผู้เขียน) ทรงมีความเป็นกันเอง มีพระเมตตากับข้าราชบริพารที่เป็น "ทีมงาน" ของพระองค์ เป็นที่ประจักษ์

          และเมื่อเราพูดถึงลักษณะของบุคคลที่มีภาวะผู้นำในระดับโลกาภิวัฒน์ (Global Leadership) ซึ่งประกอบด้วยการมีเชาว์ปัญญา (IQ) วุฒิภาวะทางอารมณ์ (EQ) การมีวิสัยทัศน์ ความสามารถในการสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานให้พนักงาน (Ability to Inspire) ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี การจูงใจบริหารพนักงานให้มีความผูกพันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการบรรลุ เป้าหมายขององค์กร (Aligning people with corporate goals) การรู้รอบเรื่องความเป็นไปของสังคม เศรษฐกิจ การเมืองของสภาวะแวดล้อมภายนอก (Business savvy) และรู้ถ่องแท้ถึงจุดเด่นจุดด้อยขององค์กรของตน (Organization Savvy) และสุดท้ายคือสามารถปรับตัวได้ฉับไวเข้ากับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงได้เสมอ โดยไม่ตกเป็นฝ่ายที่ถูกคุกคามจากความไม่แน่นอนและวิกฤตต่างๆ

          คุณสมบัติทั้งหมดนี้ มีอยู่ในพระองค์ท่านอย่างครบถ้วน เพราะทรงมีแนวพระราชดำริที่เป็นสากลในเรื่องการสร้างระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ที่แก้ปัญหาของประเทศที่กำลังพัฒนาให้มีแนวทางในการสร้างความมั่นคงให้ เศรษฐกิจอย่างมีภูมิปัญญาเป็นของตนเอง ไม่เห่อเหิมฟุ้งเฟ้อกับวัตถุตามแนวทุนนิยมมากเกินไปที่ก่อให้เกิดปัญหา หนี้สิน และช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนมากจนเป็นปัญหาสังคมตามมา นอกจากนี้ในยามที่ประเทศ ประสบภัยและวิกฤตต่างๆ ก็ทรงให้สติและนำพาประเทศฝ่าฟันความแปรปรวนต่างๆ ไปได้ด้วยพระปรีชาในการพระราชทานแนวทางในการแก้ไขปัญหา และ ทรงร่วมแก้ปัญหาด้วยพระองค์เองด้วย ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากภัยคุกคามต่างๆ ในหลายวาระ

         ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นสุดยอดแห่งผู้นำทั้งปวง ดังนั้นพระราชดำรัสที่ทรงมีในวันที่ 4 ธันวาคม จึงสมควรยึดถือเป็นทฤษฎีในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้นำในทุกระดับได้ สำหรับในปี พ.ศ. 2548 นี้ มีทฤษฎีที่ผู้เขียนคัดสรรมาจากพระราชดำรัสได้หลายทฤษฎีเลยทีเดียว โดยจะนำเสนอว่าเป็น "ทฤษฎีการเป็นผู้นำตามแนวพระราชดำรัส"

ผู้นำสามารถทำผิดได้ และต้องน้อมรับคำวิจารณ์ (Leaders can do wrong and should accept criticisms and feedback)

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงกล่าวถึงหลักการ "The King can do no wrong" และ บทบัญญัติใน รัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทยว่า "ผู้ใดจะล่วงละเมิดพระมหากษัตริย์มิได้" ว่าตามความเป็นจริงแล้ว พระองค์ทรงมีความเห็นว่า "The King can do wrong" และก็สามารถละเมิด "The King" ได้ ซึ่งการละเมิดนั้น หมายถึงการวิจารณ์องค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งพระองค์ท่านได้เล่าถึงว่ามีนักหนังสือพิมพ์ต่างชาติที่วิจารณ์พระองค์ ซึ่งรัฐบาลไทยก็มีความเดือดร้อน และได้ดำเนินการตามกฎหมายไป แต่พระองค์ท่านเองนั้นไม่ทรงเดือดร้อนเลยและไม่ถือสา อีกทั้งพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเล่าว่าในสมัยรัชกาลที่ 6 นั้น ก็มีผู้คิดการกบฏ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ก็มิได้ถือโทษหรือลงโทษ

          จากตัวอย่างจากรัชกาลที่ 6 และของพระองค์ท่านเอง ทรงชี้ให้เห็นว่า การเป็นผู้นำนั้นสามารถทำผิดพลาดได้ การเป็นผู้นำนั้นหมายถึงการที่ต้องอยู่ในที่แจ้ง ซึ่งผู้เขียนแปลความว่า หมายถึงอยู่ในที่สาธารณะ อยู่ในสายตาของสาธารณชนอันจับจ้องพฤติกรรมของผู้นำ จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่เมื่ออยู่ในสายตาของคนมากมายที่คอยจับจ้องอยู่ ถ้าไม่ระวังให้ดี ก็สามารถทำสิ่งผิดพลาดได้ แต่เมื่อมีข้อผิดพลาดก็ต้องเปิดใจกว้างรับคำวิจารณ์ รับคำติ โดยไม่ถือโทษโกรธเคืองถือสา และไม่จำเป็นต้องแก้ตัวมากมายเกินไป ทฤษฎีข้อนี้ผู้นำทั้งหลายนำไปใช้ได้ โดยจะฝึกให้ผู้นำมีใจกว้าง ลดอัตตา เป็นนักประชาธิปไตย รับฟังความเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีใจคอหนักแน่น รู้จักละวาง และ รู้จักให้อภัยไม่ถือโทษผู้วิจารณ์ โอ้โฮ! ครบทั้งความเป็นประชาธิปไตยและเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีเลยใช่ไหมคะ

          ผู้นำต้องมี "สติ" มีความสำรวมระวังในการคิด พูด ทำแม้ว่าผู้นำจะมีโอกาสทำผิดพลาดได้ แต่ก็ไม่ควรบ่อย พระเจ้าอยู่หัวทรงเล่าว่าเมื่อก่อนที่จะทรงเป็น "The King" ก็เคยทำผิดพลาดอยู่เหมือนกัน แต่เมื่อทรงเป็น "The King" แล้ว ก็ทรงระมัดระวัง มีสติก่อนจะคิด พูด ทำอะไร ทำให้ไม่ผิดพลาด หลักการข้อนี้ถือเป็นข้อคิดที่ทรงคุณค่ามาก เนื่องด้วยถูกกับหลักการทั้งทางโลกและ ทางธรรม เพราะการมีสติทำให้คนมีความรอบคอบ มีความสุขุม รู้จักทบทวนตนเองก่อนจะทำอะไรก็ตาม หลักของสติทำให้เกิดองค์ความรู้ (Knowledge) และ นำไปสู่การคัดกรองความรู้จนเกิดปัญญา (Wisdom) นอกจากจะมีปัญญาแล้ว ยังทำให้เกิดความสำรวมใน การคิด พูด ทำ เป็นการสร้างวุฒิภาวะทางอารมณ์ (EQ) ดังนั้น การฝึกให้มี "สติ" คือ ความรู้ทัน จึงเป็นการยิงกระสุนนัดเดียวได้นกสองตัว คือได้ทั้งปัญญา และ EQ

          หลักการ "แก้มลิง" กับการเป็นผู้นำแบบพอเพียงในการแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมนั้นโครงการ "แก้มลิง" เป็นหนึ่งในโครงการในพระราชดำริที่ใช้ในการแก้ปัญหา น้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิผล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงย้ำว่าหลักการเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเหมาะสมกับวิถีชีวิตของคนไทย ทรงสอนให้รู้จักประหยัด ใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างประหยัด รู้จักพอ ไม่ละโมบมากเกินความ พอเพียง โดยทรงกล่าวถึงหลักการแก้มลิงว่า นอกจากแก้ปัญหาเรื่องน้ำแล้ว ยังนำมาใช้ในชีวิตประจำวันคือ ลิงที่มีแก้มพองสองข้างนั้นสามารถใช้กักเก็บน้ำได้ ไม่ปล่อยมาทีเดียวหมด เป็นการประหยัด มนุษย์เราก็ประหยัดคำพูดได้ คือเก็บไว้ในแก้ม โดยตีความได้ว่า การจะพูดจะจาอะไรต้องมีความระวัง ให้คิดก่อนพูด ตรงนี้นับเป็นการเปรียบเทียบที่ลึกซึ้งมาก

สรุป ทฤษฎีหลักที่ผู้เขียนเรียนรู้จากพระราชดำรัส คือ
1. The King can do wrong.(Leaders can do wrong)
2. การมีสติ
3. การรู้จักความพอเพียง ประหยัด โดยอิงกับ หลักการ "แก้มลิง"

           ทั้ง 3 ทฤษฎีนี้ ถือเป็นหลักในการพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยแท้ ท่ามกลางกระแสการแข่งขัน รุนแรงของเศรษฐกิจ การแตกแยกเข่นฆ่า บ่อนทำลายจากภัยผู้ก่อการร้าย ภัยธรรมชาติ การแตกความสามัคคีของกลุ่มคนในสังคมทั่วโลก การขาดจริยธรรม รู้จักผิดชอบ ชั่วดีของผู้นำทั้งหลาย และการใช้ชีวิตด้วยความกลัวและหวั่นวิตก ภายใต้สถานการณ์กดดันเช่นนี้ สังคมโลกของเราต้องการผู้นำที่มีสติ มีใจกว้าง รู้จักฟัง รู้จักให้อภัย และมีความประหยัด รู้จักพอเพียง ไม่ละโมบ จนทำให้เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น สมดังพระราชดำรัสโดยแท้

          ในโอกาสนี้ขอเชิญชวนท่านผู้อ่านทุกท่าน ได้อัญเชิญหลักการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต และพัฒนาความเป็นผู้นำตามแนวพระราชดำรัสนี้ด้วยเทอญ


ที่มา : www.jobjob.co.th
UP Training  อ่านบทความอื่นๆ คลิก