วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559

กรณีศึกษาวัฒนธรรมองค์กรการทำงานในเเบบญี่ปุ่น



          ครั้งแรกที่ต้องผูกมิตรกับเพื่อนร่วมงานหน้าใหม่ มันคือช่วงเวลาอันยากลำบากในการคิดหากิจกรรมสร้างความสนิทสนมคุ้นเคย ซึ่งการพูดคุยกันช่วยได้เยอะทีเดียว แต่การเริ่มประโยคแรกให้ได้กลับเป็นเรื่องยาก เพราะเราไม่รู้ว่าควรคุยเรื่องใดกับคนที่เพิ่งรู้จักกัน สำหรับพนักงานชาวญี่ปุ่นพูด เมื่อพวกเขามีโอกาสรวมตัวคุยกันในห้องเบรคเล็กๆ ในออฟฟิศ พวกเขานิยมเลือกแชร์เรื่องความผิดพลาดในการทำงานของตนให้คนอื่นได้ฟังกัน การเล่าเรื่องทำนองนี้มีชื่อเรียกว่า “ฉิปไปดัน


ประสบการณ์ที่ดี หมายถึงความผิดลาด
ชาวญี่ปุ่นให้ความเคารพผู้อาวุโสกว่าและผู้มีประสบการณ์การทำงานที่ยาวนานเป็นอย่างยิ่ง ด้วยสังคมที่ถือเรื่องเกียรติยศและศักดิ์ศรีเช่นนี้ การพูดคุยกับห้วหน้าหรือเพื่อนร่วมงานนอกเหนือจากเรื่องงานจึงเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยมีใครปฏิบัตินัก เพราะถือเป็นการก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวและการกระทำอันไม่สุภาพ แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง ดังนั้นบรรดาหัวหน้าทั้งหลายจึงเลือกใช้การเล่าเรื่องความผิดพลาดของตัวเองให้ลูกน้องฟัง เพื่อให้ลูกน้องรู้สึกว่าสามารถเข้าถึงหัวหน้าได้ไม่ลำบากนัก ว่าหัวหน้าก็เป็นเพียงคนธรรมดาที่ครั้งหนึ่งก็เคยก้าวพลาดเช่นกัน ซึ่งอาจทำให้ลูกน้องกล้าพอจะเสนอความเห็นต่างๆ ออกมาอย่างตรงไปตรงมาได้อีกด้วย

นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นยังมีทัศนคติว่า “จดจำและเรียนรู้จากสิ่งผิดพลาดหรือเหตุการณ์ในอตีต” ดังนั้นการเล่าความผิดพลาดก็สามารถเป็นข้อคิด บทเรียน และเรื่องเตือนใจให้ผู้ฟังได้ด้วย


ฟังอย่างนับถือและให้เกียรติ
ท้ายที่สุดแล้ว “ฉิปไปดัน” คือการแสดงถึงการให้เกียรติตัวผู้เล่าเองที่ยอมรับความล้มเหลวของตนและให้คำสัญญาว่าจะไม่ทำพลาดซ้ำรอยเดิม ขณะเดียวกันก็แสดงถึงความเคารพและยอมรับจากผู้ฟังด้วยเช่นกัน ทั้งยังเป็นการปลอบประโลมจิตใจที่ดีเมื่อมีคนเ้ข้าใจและยอมรับเื่รื่องที่ได้ก้าวพลาดไป ซึ่งยังส่งให้ความสัมพันธ์ดีขึ้นและช่องว่างลดลงได้อีกด้วย


อ่านต่อ คลิก
UP Training  อ่านบทความอื่นๆ คลิก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น