วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ทำไมเราไม่ควรหยุดเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ


 
          การเรียนรู้เป็นนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต คงไม่มีใครที่จะรู้สิ่งเดิมๆ ทำสิ่งเดิมๆ อยู่ตลอดเวลา เพราะเมื่อเวลาผ่านไปก็ย่อมมีทักษะหรือเทคนิคใหม่ๆ ให้เราสามารถเรียนรู้เพื่อนำมาปรับใช้ในการทำงานและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ซึ่งถ้าสังเกตดูดีจะพบว่าบรรดานักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในโลกนั้นก็ไม่เคยที่จะหยุดเรียนรู้เช่นกัน เหมือนอย่าง วอร์เรน บัฟเฟต นักลงทุนชื่อดังที่แม้จะร่ำรวยขนาดไหนก็ยังใช้เวลาส่วนมากในแต่ละวันไปกับการอ่านหนังสือเพื่อหาอะไรใหม่ๆ มาเติมสมองอยู่บ่อยครั้ง และที่สำคัญนั้นคนกลุ่มนี้มักไม่แสดงตัวว่าตัวเองเป็นผู้รู้ในทุกเรื่อง เพราะพวกเขาเข้าใจเป็นอย่างดีว่ายังมีอะไรอีกหลายสิ่งให้พวกเขาได้เรียนรู้อยู่ตลอดชีวิต ในปัจจุบันมีหลายองค์กรที่ต่างก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาตัวเองของพนักงานอยู่ไม่น้อย ตั้งแต่ระดับล่างจนถึงระดับผู้บริหารก็ต้องโปรแกรมการพัฒนาตัวเองให้กับพนักงานทุกคน เพื่อให้พนักงานเหล่านี้ได้โอกาสพัฒนาฝีมือและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็นับว่าเป็นแนวคิดที่ได้ผลประโยชน์ทั้งตัวบริษัทเองและตัวพนักงานด้วย แต่หากเรานั้นยังไม่มีแรงจูงใจมากพอในการพัฒนาตัวเองแล้ว ขอยก 4 เหตุผลที่จะทำให้เรามีไฟในการพัฒนาตัวเองขึ้นมาบ้าง


1. การเรียนรู้ช่วยให้เรามีความสุขขึ้น
ขึ้นชื่อว่าการ “เรียน” นั้นอาจฟังดูน่าเบื่อและน่าปวดหัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการต้องเรียนรู้กับสิ่งที่ต้องใช้พลังงานสมองมากๆ หรือเริ่มต้นเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน อย่างเช่น การลองไปเขียนโค้ดซอฟท์แวร์เพื่อสร้างแอพลิเคชั่นเพื่อช่วยให้การทำงานในองค์กรเป็นไปได้ง่ายขึ้นโดยที่ไม่ต้องเสียเงินจ้าง เป็นต้น ก็จริงอยู่ที่ว่าการเรียนรู้อะไรใหม่ๆ เหล่านี้อาจดูยาก แต่รับรองได้ว่าคงไม่มีอะไรเกินความสามารถของเราเป็นแน่ และยิ่งถ้าเราทำได้ เราก็จะยิ่งรู้สึกดีและภูมิใจไปกับสิ่งที่ทำได้เป็นอย่างมาก เสมือนกับการที่เราทำลายสถิติของตัวเองได้เวลาเล่นกีฬาหรือเล่นเกมส์ต่างๆ เพราะมีผลการศึกษาที่ออกมาแล้วว่ายิ่งเราตั้งเป้าหมายตัวเองไว้สูงแค่ไหน เมื่อทำสำเร็จแล้วก็จะยิ่งมีระดับความสำเร็จที่สูงขึ้นมากเท่านั้น

แต่หากเราไปเริ่มต้นเรียนรู้สิ่งใหม่เอาดื้อๆ แล้วทำไม่ได้ก็อาจจะหมดกำลังใจไปตั้งแต่ต้นอย่างแน่นอน ดังนั้นก่อนที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ลองตั้งเป้าหมายปลายทางสุดท้ายให้เรียบร้อยว่าสุดท้ายแล้วผลที่เราอยากได้คืออะไร พร้อมทั้งกำหนดเวลาที่จะไปถึงเป้าหมายเพื่อเป็นการบังคับตัวเองไปในตัว อย่างเช่น หากเราตั้งเป้าว่าจะเรียนรู้ภาษาจีน อาจมีเป้าหมายไว้ว่าภายในหนึ่งปี เราจะสามารถ ฟัง พูด อ่าน เขียน ประโยคหรือคำศัพท์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันเบื้องต้นได้ ก่อนที่แตกออกมาเป็นเป้าหมายย่อยๆ ในรายเดือน หรือราย 2-3 เดือนว่าเราต้องทำอะไร และประเมินตัวเองเมื่อถึงเวลาเราจะทำสำเร็จหรือไม่ โดยหากเราพิจารณาแล้วว่าการเรียนรู้ด้วยตัวเองอาจดูยากเกินไปและทำให้เราถอดใจไปเสียก่อน ก็อาจใช้วิธีลงทุนไปเรียนเพื่อเป็นการบังคับตัวเองเพื่อให้การเรียนรู้ในครั้งนี้เป็นไปอย่างราบรื่นกว่าเดิมก็ได้เช่นกัน เป็นต้น


2. การเรียนรู้ทำให้ไม่มีใครแทนที่เราได้
ในการทำงานที่อาจมีการแข่งขันที่สูง หากพนักงานแต่ละคนมีความสามารถในระดับที่ใกล้เคียงกันแล้วนั้น แน่นอนว่าสักวันนึงอาจมีใครขึ้นมาแทนที่ใครสักคนก็ย่อมเป็นไปได้ การทำแต่ในสิ่งที่คนอื่นทำได้ ถือเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งในการทำงานเลยก็ว่าได้ เพราะหากวันหนึ่งถ้าค่าตัวเราสูงขึ้นจนบริษัทไม่พร้อมจะจ่ายแล้ว พวกเขาอาจเลือกเด็กใหม่ที่มีความสามารถใกล้เคียงกันและพร้อมเรียนรู้งานมาแทนที่เราได้เสมอ ดังนั้นการหมั่นฝึกฝนทักษะและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มาปรับใช้ในการทำงาน จะทำให้เรามีความสามารถพิเศษที่เหนือกว่าคนอื่นๆ จนไม่มีใครที่จะมาแทนที่ในงานของเราได้อย่างลงตัว อย่างเช่น หากเราเป็นพนักงานขาย ซึ่งเราก็ทำเป็นแค่การขาย ก็อาจเป็นทักษะที่น้อยเกินไป แต่หากเราเรียนรู้ที่จะขาย ทำการตลาดได้ หรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้แล้ว เราก็จะกลายเป็นบุคคลสำคัญในองค์กรที่แทนที่ได้ยากในทันที


อ่านต่อ คลิก

UP Training  อ่านบทความอื่นๆ คลิก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น