วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559

วิวัฒนาการหลายแนวคิดของ CSR



          CSR เป็นคำที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในสังคมไทยในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา และเข้าใจกันโดยทั่วไปว่าคือการ “ทำบุญ” ของธุรกิจ อย่างไรก็ดี หากเจาะลึกลงไปแล้วก็จะพบว่า CSR นั้นมีหลายแนวคิดด้วยกัน

CSR (Corporate Social Responsibility) เป็นที่เริ่มรู้จักกันในโลกตะวันตกตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1960 เมื่อผู้นำทางความคิดของโลกชี้ให้เห็นว่า มิใช่เพียงผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของธุรกิจเท่านั้น ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบธุรกิจไม่ว่าประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว หากแท้จริงแล้วยังมีผู้อื่นอีกซึ่งเรียกรวมกันว่า “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” (stakeholders) เกี่ยวพันอยู่ด้วย ซึ่งได้แก่ พนักงาน ผู้ขายวัตถุดิบ ผู้จัดส่งสินค้า ชุมชน สังคม ฯลฯ คนเหล่านี้ล้วนมีชะตากรรมร่วมกับองค์กรอย่างแยกไม่ออก

เมื่อความจริงเป็นเช่นนี้ ธุรกิจจึงไม่อาจให้ความสนใจเฉพาะแค่ผู้ถือหุ้นเท่านั้น จำเป็นต้องมองออกไปกว้างกว่าเดิม ดังนั้น การคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจึงควรเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบธุรกิจ ความจริงที่สำคัญก็คือ การอยู่รอดในระยะยาวของธุรกิจต้องพึ่งพิงซึ่งกันและกันโดยสร้างสภาวการณ์ win-win ขึ้น

หนังสือที่เขียนโดย R. Edward Freeman ชื่อ Strategic Management: A Stakeholder Approach ในปี 1984 มีอิทธิพลต่อความคิดในเรื่องผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการคำนึงถึงกำไรในระยะยาวจนวลี “doing well by doing good” (อยู่ได้ดีด้วยการทำดี) เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และ CSR มีรากมาจากแนวคิดนี้

อย่างไรก็ดี CSR มีพัฒนาการอยู่ตลอดเวลานับตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1960 จนถึงปัจจุบัน ถ้าจะสรุป ก็มีไม่ต่ำกว่า 3 แนวคิดหรือเวอร์ชั่นดังนี้

(1) CSR เวอร์ชั่น 1.0 เป็น CSR ที่เรารู้จักกันทั่วไป คือ ความมีใจเป็นกุศล ความมีจิตอาสาและจิตสาธารณะของธุรกิจ เรามักเห็นการบริจาคหรือการทำโครงการสาธารณกุศลต่างๆ ของเอกชนซึ่งเป็นพื้นฐานของเวอร์ชั่นนี้ เวอร์ชั่น 1.0 คือการพยายามทำดีเพื่อหวังผลตอบแทนหรืออาจไม่หวังผลตอบแทนในระยะสั้น หรือทำการกุศลด้วยการตระหนักถึงการได้รับกำไรในระยะยาว ตลอดจนการอยู่รอดร่วมกันขององค์กรและสังคม


CSR เวอร์ชั่นอื่นๆ อ่านต่อคลิ๊ก
 UP Training  อ่านบทความอื่นๆ คลิก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น