เมื่อเผชิญปัญหา สัญชาตญาณของเราคือพยายามแก้ไขหาทางออกทันที แต่นักกลยุทธ์ฉลาดคิดจะใช้วิธีที่ต่างออกไป พวกเขาจะถามว่า: ฉันควรแก้ปัญหานี้ด้วยการทุ่มเทแรงกายแรงใจ ความคิดและเวลาจริง ๆ หรือไม่? ถ้าปัญหานั้นไม่สำคัญ หรือไม่คุ้มที่จะเสียเรี่ยวแรงแก้ไข เหตุใดจึงใช้ความคิดกับมันตั้งแต่แรก? ส่วนดีที่สำคัญที่สุดจากการคิดแบบนี้ก็คือ ทำให้คุณสามารถขยายการใช้ความคิดให้ไปถึงขีดสุด ในหนังสือ Breakthrough Thinking: The Seven Principles of Creative Problem Solving แนดเลอร์กับฮิบิโน (Nadler & Hibino) ผู้เขียน ให้เหตุผลว่า คนที่มีประสิทธิภาพจะแก้ปัญหาด้วยการตั้งคำถามต่อเป้าหมายในการแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งกลยุทธ์นี้จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาต่าง โดยที่ผู้เขียนทั้งสองได้ให้หลักคิดเจ็ดประการเพื่อการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
1. ควรมองปัญหาแต่ละปัญหาอย่างเฉพาะเจาะจง แม้ปัญหาอย่างหนึ่งจะคล้ายคลึงกับอีกปัญหาหนึ่ง แต่เราต้องเรียนรู้ที่จะจดจำไว้ เมื่อจะแก้ไขแต่ละปัญหาว่า ต้องพิจารณาเอกลักษณ์หรือความไม่เหมือนใครตามความจำเป็นของสถานการณ์ (สิ่งแวดล้อม) เราจะสามารถพัฒนาการแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเห็นความจำเป็นของสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจงและแตกต่างจากสิ่งอื่นเท่านั้น
2. พุ่งความสนใจไปยังเหตุผลเพื่อแก้ปัญหา นี่เป็นสิ่งสำคัญหากต้องการลดการสูญเสียทรัพยากร ทั้งทรัพย์สินเงินทอง ข้าวของเครื่องใช้ แรงงานคน แรงงานเครื่องจักรและวิธีการ คุณจะสามารถพุ่งความสนใจไปยังเป้าหมายได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในตำแหน่งที่เห็นภาพสถานการณ์ใหญ่กว่าเดิมเท่านั้น แทนที่จะตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นและมีปัญหาอะไร ให้เรียนรู้ที่จะตั้งคำถามว่า เรากำลังพยายามจะได้รับอะไรหรือต้องการบรรลุผลประการใดจากสถานการณ์นี้ ซึ่งจะทำให้สมองค้นหาทางแก้ที่พึงปรารถนามากยิ่งขึ้น และเพื่อจะมุ่งมั่นหาทางแก้มากกว่าเดิม เราควรเรียนรู้ที่จะตั้งคำถามว่า: จะเป็นอย่างไรถ้า...? ซึ่งจะช่วยพัฒนาวิธีแก้ปัญหาให้เพิ่มมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
3. แสวงหาทางแก้ปัญหาด้วยการมองระยะยาว เมื่อใดก็ตามที่สามารถระบุวิธีแก้ปัญหาอันยอดเยี่ยมและสมควรนำไปปฏิบัติ คุณก็จะสามารถฝึกฝนการแก้ปัญหาระยะสั้นที่นำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาระยะยาว ผู้เขียนทั้งสองอธิบายการฝึกฝนเช่นนี้ว่าเป็น หลักการแก้ปัญหาหลังจากนั้น & (The Solution-After-Next Principle)
4. มองปัญหาจากวิธีที่เป็นระบบ เมื่อเรียนรู้ที่จะมองว่าปัญหาแต่ละอย่างเป็นส่วนของสิ่งอื่น เราก็จะเริ่มใช้วิธีที่เป็นระบบ จัดการปัญหา การตระหนักว่าปัญหาแต่ละอย่างที่เผชิญเป็นส่วนของปัญหาที่ใหญ่กว่า ทำให้สามารถคาดการณ์ถึงปัญหาที่อาจจะต้องประสบเมื่อแก้ไขด้วยวิธีเหล่านั้น นี่จะทำให้เราปรับปรุงกลยุทธ์ที่เหมาะสมซึ่งอาจจะต้องเผชิญเมื่อนำวิธีแก้ปัญหาเหล่านั้นไปปฏิบัติ
5. เรียนรู้ที่จะทำงานด้วยข้อมูลน้อยที่สุด คนจำนวนไม่น้อยถูกฝึกฝนให้มองหาข้อมูลเต็มรูปแบบ ซึ่งสมบูรณ์ครบถ้วนและเข้าใจได้ เมื่อต้องจัดการปัญหาและทำงานข้องเกี่ยวกับการท้าทาย แท้ที่จริงการมีข้อมูลในมือมากเกินไปทำให้เราไม่พิจารณาวิธีแก้ปัญหาใหม่ ๆ และสร้างสรรค์ สัญชาตญาณหายไปเสมอเมื่อมีข้อมูลมากเกินเหตุ!
6. นึกถึงปัจจัยที่เป็นบุคคลเสมอขณะพัฒนาวิธีแก้ปัญหา จะข้องเกี่ยวกับคนให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้เมื่อพัฒนาวิธีแก้ปัญหา เพราะการมีส่วนและการร่วมมือของพวกเขาสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จทั้งหมดของวิธีแก้ปัญหาที่นำมาทดลองใช้ ให้วิธีแก้ปัญหาเป็นวิธีกว้าง ๆ และยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้เสมอ เพื่อที่ว่าผู้ซึ่งนำวิธีดังกล่าวไปใช้จะมีความยืดหยุ่นได้ในระดับหนึ่ง วิธีดำเนินการมาตรฐานของการแก้ปัญหาเป็นสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยง
7. หลักการรวบรวมตามลำดับ - เป้าหมายแต่ละอย่างซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการปัญหาควรอยู่ในลำดับที่ถูกต้อง นั่นจะทำให้เราสามารถขยายผลของวิธีแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดออกไปได้มากที่สุด
การทำให้พนักงานฉลาดคิดควรเริ่มด้วยการพุ่งความสนใจไปยังเป้าหมายของการแก้ไขปัญหา ขณะที่คนส่วนใหญ่นำหลักการเหล่านี้ไปใช้ บางครั้งในการจัดการปัญหาบางประการของเราเอง เป็นการดีที่จะตระหนักว่าจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีใช้หลักการตามที่กล่าวมาแล้วในการตัดสินใจทั้งหมดของเราเอง เราจะทำให้การคิดเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการตัดสินใจได้ก็ต่อเมื่อ กระทำผ่านกระบวนการที่สม่ำเสมอและสอดประสานกันเท่านั้น การทำให้พนักงานฉลาดคิดเป็นเรื่องว่าด้วยการสนับสนุนให้พวกเขาใช้หลักเจ็ดประการข้างต้นอย่างสม่ำเสมอและสอดประสานกัน จำเป็นที่เราต้องให้พนักงานเข้าใจความสำคัญของการระบุเป้าหมายในการจัดการปัญหาใดปัญหาหนึ่ง สิ่งที่ต้องเน้นย้ำคือการหาสิ่งซึ่งเรากำลังพยายามจะได้มาหรือบรรลุผลด้วยสถานการณ์ที่เป็นปัญหานั้น ควรมองปัญหาว่าเป็นสถานการณ์ที่ต้องการการเปลี่ยนแปลง วิธีดีที่สุดในการได้มาซึ่งการเปลี่ยนแปลงก็คือการตั้งคำถาม: เรากำลังพยายามจะทำสิ่งใดให้สำเร็จตรงนี้ ซึ่งนั่นเองเกี่ยวข้องกับการนำเอาการเปลี่ยนแปลงที่เปี่ยมประสิทธิภาพและมีความหมายยิ่งมาสู่ชีวิต
โดย : จอห์น อารัล (John Arul)
ปรับปรุงข้อมูลโดย UP Training อ่านบทความอื่นๆ คลิก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น