ความขัดแย้ง เป็นประเด็นอมตะ เพราะตั้งแต่เกิดเป็นมนุษย์ขึ้นมาเราย่อมเจอความขัดแย้งเสมอ เพราะเมื่อมีคนที่มีความแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมกันโดยเฉพาะมาทำงานร่วมกัน มักเกิดความขัดแย้งขึ้น หากเอ่ยถึงความขัดแย้ง จะมีมุมมองด้วยกัน 2 มุมมอง คือ
1. มองว่าตัวความคิดคือตัวเรา ถ้าใครคิดไม่เหมือนก็ไปอยู่ฝ่ายตรงข้าม เป็นศัตรูกับเราโดยตรง มุมมองลักษณะอย่างนี้จะทำให้การบริหารความขัดแย้งเป็นไปด้วยความยากลำบาก และเป็นมุมมองของการต่อสู้ ฟาดฟันกัน
2. มองว่าจริงๆ แล้วมันมีความจริงอยู่ แต่ไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกที่สุด คือทุกอย่างเป็นความจริงอันนี้ก็จริงอันนั้นก็จริง ไม่มีอะไรถูกทีสุด เพราะฉะนั้นเวลามีปัญหากันก็แค่เอามาแสดงออก แล้วสามารถทะเลาะกันบนโต๊ะได้ พอจบจากโต๊ะไปก็สามารถนั่งกอดคอ กินข้าวกันได้
2. มองว่าจริงๆ แล้วมันมีความจริงอยู่ แต่ไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกที่สุด คือทุกอย่างเป็นความจริงอันนี้ก็จริงอันนั้นก็จริง ไม่มีอะไรถูกทีสุด เพราะฉะนั้นเวลามีปัญหากันก็แค่เอามาแสดงออก แล้วสามารถทะเลาะกันบนโต๊ะได้ พอจบจากโต๊ะไปก็สามารถนั่งกอดคอ กินข้าวกันได้
สาเหตุของความขัดแย้งมีด้วยกันหลากหลาย ตัวอย่างเช่น
1. ความขัดแย้งในเรื่องของผลประโยชน์ ทั้งส่วนบุคคล ส่วนสถาบัน
2. ความขัดแย้งในการยึดมั่นกับความคิดของตัวเองมากเกินไป
3. ความขัดแย้งที่เกินจากการแยกไม่ออกระหว่างเรื่องส่วนตัวและเรื่องส่วนรวม
4. ความขัดแย้งเรื่องไม่สามารถเข้าใจในวิธีคิด ระเบียบวิธีคิด และบุคลิกลักษณะนิสัยของแต่ละคนที่แตกต่างกัน
5. ความขัดแย้งที่เกิดจากการขาดสติ เวลาเกิดความผิดก็พยายามปกป้องหน้าตาตัวเองด้วยการแสดงออก สร้างความถูกต้อง ยกเหตุผลต่างๆ นานามาอ้างมากมายเพื่อให้ตัวเองถูก
2. ความขัดแย้งในการยึดมั่นกับความคิดของตัวเองมากเกินไป
3. ความขัดแย้งที่เกินจากการแยกไม่ออกระหว่างเรื่องส่วนตัวและเรื่องส่วนรวม
4. ความขัดแย้งเรื่องไม่สามารถเข้าใจในวิธีคิด ระเบียบวิธีคิด และบุคลิกลักษณะนิสัยของแต่ละคนที่แตกต่างกัน
5. ความขัดแย้งที่เกิดจากการขาดสติ เวลาเกิดความผิดก็พยายามปกป้องหน้าตาตัวเองด้วยการแสดงออก สร้างความถูกต้อง ยกเหตุผลต่างๆ นานามาอ้างมากมายเพื่อให้ตัวเองถูก
ความขัดแย้งภายในองค์กร
ความขัดแย้งเกิดได้ทั้งกับทีมงานหรือหัวหน้างาน
ข้อแรก คือ เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นอีกคนอยู่อีกคนต้องไป ไม่สามารถจะอยู่ร่วมกันได้ ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้แสดงว่ามันเกินเหตุไปแล้ว ต้องยุติเปลี่ยนวิธีใหม่ แล้วสร้างทีมขึ้นมาใหม่
ข้อที่สอง คือ เริ่มเกิดภาวการณ์นินทาภายในองค์กร แสดงว่าความขัดแย้งเกิดการควบคุมแล้ว
ข้อที่สาม คือ เริ่มมีปัญหาคนในองค์กรหมดขวัญกำลังใจในการทำงาน ซึ่งแสดงว่าทีมไม่ดีแล้ว
ข้อที่สี่ คือ ภายในองค์กรเริ่มมีการแบ่งก๊กแบ่งเหล่าเกิดขึ้น
ข้อที่ห้า คนในองค์กรเริ่มมีปัญหาปัดความรับผิดชอบ เวลามีเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วเดินหนีเลย ไม่ยอมรับความผิด
ข้อที่หก ไม่มีการตัดสินใจอะไรที่เป็นรูปธรรม ขัดแย้งกันจนขาดพลังที่จะทำให้องค์กรเดินต่อไปได้ ไร้ซึ่งผลงานที่มีคุณภาพ
วิธีการแก้ไขความขัดแย้ง
1. เป้าหมายต้องชัด ต้องมากำหนดเป้าหมายกันใหม่ว่าจริงๆ แล้วเราจะเอาอะไรกันแน่ ว่าที่เราทะเลาะกันไปมานี่จริงๆ แล้วกลายเป็นเราเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ จนลืมเป้าหมายที่แท้จริงขององค์กรไปเลย
2. กำหนดบทบาทของแต่ละคนให้ชัดเจนขึ้น จะได้รู้ว่าคนแต่ละคนในองค์กร ในทีมทำอะไร มีหน้าที่อะไรกันบ้าง แบ่งให้ทราบกันชัดๆ ไปเลย และผู้บริหารคาดหวังอะไร
3. กำหนดหลักปฏิบัติพื้นฐานร่วมกัน คือเป็นกฎขั้นต้น เช่น เวลามีความขัดแย้งเกิดขึ้น ห้ามโยนความขัดแย้งนี้ให้บุคคลที่ 3 ตัดสิน เพราะเขาจะตัดสินความคิดของเขาเพราะใครจะมารู้ดีเท่าตัวเรา และอาจทำให้กลายเป็นเรื่องทีร้ายแรงกว่าเดิม และต้องไม่หันไปหาพวกเพื่อหากำลังเสริม ถ้าเป็นอย่างนี้องค์กรจะเริ่มแตกเป็น 2 ส่วนแล้ว หากเกิดปัญหาแล้วต้องไปปล่อยทิ้งไว้นาน ต้องแก้ให้เสร็จใน 2-3 วัน อย่าทิ้งไว้นานจนเกินปัญหาเรื้อรัง จนแก้ไม่ทันแล้ว
4. ห้ามพูดพาดพิงถึงบุคคลอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่กำลังขัดแย้งกับเรา ในที่ประชุมตอนเขาไม่อยู่ ถ้าจะพูดก็ต้องพูดกันต่อหน้า
5. ห้ามทำให้ความขัดแย้งทางความคิดกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล
การสร้างทีมงานที่มีศักยภาพ
1. ต้องหายอดฝีมือมาอยู่ในกลุ่ม
2. ให้โชว์ศักยภาพแสดงฝีมือ
3.หัวหน้าทีมต้องมีความสามารถในการไกล่เกลี่ย สามารถที่จะนำคนที่แตกต่างกันมาร่วมหัวจมท้ายกันได้
4. สร้างความกระจ่างในบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน แบ่งให้ชัดเจนกันไปเลย
2. ให้โชว์ศักยภาพแสดงฝีมือ
3.หัวหน้าทีมต้องมีความสามารถในการไกล่เกลี่ย สามารถที่จะนำคนที่แตกต่างกันมาร่วมหัวจมท้ายกันได้
4. สร้างความกระจ่างในบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน แบ่งให้ชัดเจนกันไปเลย
ถ้าเราเป็นผู้บริหารเราจะจัดการความขัดแย้งในทีมงานของเราอย่างไร มีข้อคิดหลักๆ อยู่ด้วยกัน 3 ประเด็น
1. การทำให้เห็นภาพงานตรงกัน แต่ก็ไม่ใช่ไม่มีอะไรที่เห็นต่างกันเลย แต่คือให้เห็นเป้าหมายตรงกัน เห็นเงื่อนไขการทำงานตรงกัน แม้จะเห็นภาพตรงกัน ความคิดอาจจะไม่ตรงกันก็ได้ ถ้าเห็นเป้าไม่ตรงกันเลยมันยากที่จะประสานความคิดให้เข้ากันได้อาจทำให้เกิดความขัดแย้งได้ ถ้าเป้าหมายตรงกันแล้ว ที่แตกต่างคือรายละเอียดวิธีการสู่เป้าหมายเดี๋ยวเราจะค่อยๆ รวมสติปัญญาความคิดทุกคนเข้ามา แล้วเกิดเป็นวิธีการที่สมบูรณ์เป็นมติของหมู่คณะได้ แต่ถ้าเกิดภาพรวมเห็นไม่ตรงกัน รวมยังไงก็รวมไม่ติดจะเกิดปัญหาตามมาอย่างแน่นอน การทำให้เห็นภาพรวมตรงกันมีวิธีอีกแบบคือ การหมุนงาน จะทำให้เจ้าหน้าที่แต่ละฝ่ายเห็นภาพงานชัดขึ้น เข้าใจคนที่ทำงานด้านอื่นๆ มากขึ้น เพราะฉะนั้นการหมุนงานเป็นระยะๆ มีความจำเป็น หรืออีกวิธีคือวิธีการในการจ่ายงาน แต่ละคนจะมีฝ่ายรุก ฝ่ายรับ องค์กรจะโตได้ต้องเน้นฝ่ายรุกเยอะหน่อย ถ้าให้เจ้าหน้าที่ทุกส่วนในองค์กรได้ทำหน้าที่ฝ่ายรุกบ้าง จะเริ่มทำให้ทุกคนเห็นภาพตรงกันเพราะต้องรับภารกิจเหมือนกัน
2. การให้คุณ ให้โทษเป็นทีม เพราะคนเราจะเรียนรู้จากการให้คุณให้โทษ ทำแบบไหนแล้วเขาได้รับผลดี เขาก็จะทำแบบนั้นอีก ดังนั้นถ้าเราให้คุณให้โทษเป็นทีมจะมีผลเยอะต่อความสามัคคีของทีม เราลองสังเกตว่าบริษัทที่ทำเป็นทีมเก่งคือญี่ปุ่น เพราะเขาสามารถรวมบริษัทรถยนต์ต่างๆ มาทำค้นคว้าวิจัยแล้วก็แบ่งปันประโยชน์ที่ได้อย่างสมส่วน เวลาแข่งก็แข่ง เวลาร่วมมือก็คือร่วมมือ ในฝ่ายเดียวกันมีหลายแผนก เขาก็แข่งกัน แต่ขณะเดี๋ยวกันก็ร่วมมือกันเพื่อไปแข่งกับบริษัทอื่นๆ ที่เป็นอย่างนี้ได้ เพราะเขามีการให้คุณให้โทษกันเป็นทีม ถ้าทุกคนรู้กันว่างานออกมาดีทุกคนได้ประโยชน์กันหมด การสมัครสมานสามัคคีก็จะเกิดขึ้น จะไม่เกิดสภาพสร้างอาณาจักรเฉพาะตัวเกิดขึ้น ยิ่งมีการหมุนเวียนงาน อาณาจักรต่างๆ ก็จะยิ่งหายไป
3. ผู้บริหารต้องรู้จักรับฟังความคิดเห็น คำคัดค้าน แม้เป็นคำคัดค้านที่ไม่เห็นด้วยกับเรา ต้องมีความกล้าหาญพอที่จะรับฟัง คนที่ไม่กล้าพอ เจอใครค้านก็จะไม่ชอบ ในประวัติศาสตร์จีนราชวงศ์ที่เจริญรุ่งเรืองมากๆ คือราชวงศ์ถัง ผู้ที่ตั้งราชวงศ์คือ พระเจ้าถังไท่จงฮ่องเต้ หรือ หลีซิบิ๋น จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ขึ้นครองราชย์ตอนอายุ 26 ปีเท่านั้นเอง ท่านบริหารประเทศแบบรับฟังความคิดเห็นจากทุกคน ท่านตั้งขุนนางชื่อเว่ยเจิง ตั้งในตำแหน่งขุนนางคัดค้าน คอยคัดค้านฮ่องเต้โดยเฉพาะ ทำให้เกิดความรัดกุมในนโยบาย ผลคือราชวงศ์ถังเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองมากๆ จนคนจีนภูมิใจในความเป็นคนราชวงศ์ถัง นี่เป็นผลจากการที่ผู้นำรับฟังความคิดเห็น ถ้าผู้นำกล้าฟัง ลูกน้องก็กล้าพูด
สรุปโดยรวมได้ว่าการกำจัดปัญหาความขัดแย้งคือ
1. สร้างให้ทุกคนในทีมเห็นภาพรวมตรงกันมีเป้าหมายทิศทางตรงไปในทางเดียวกัน
2. คือให้คุณให้โทษเป็นทีม ย่อยเป็นฝ่าย เป็นแผนก เป็นทีมลงไปเลย
3. คือ ผู้นำกล้ารับฟังความคิดเห็นหลอมรวมทุกคนเข้าด้วยกัน แล้วเราก็จะประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน
อ้างอิง www.dmc.tv
โดย UP Training อ่านบทความอื่นๆ คลิก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น